วิดีโอ
สรุป
ในอดีต เทคโนโลยีของมนุษย์เราก็จะมีเพียง
สมอง ไฟ และไม้แหลมๆ เท่านั้น
ขณะที่ไฟและไม้แหลมๆนั้นกลายมาเป็นโรงงานไฟฟ้าและอาวุธนิวเคลียร์
สติปัญญาของพวกเราก็เพิ่มมากขึ้นไปด้วย
นับตั้งแต่ปี คศ.1960 พลังสมองของพวกเราก็เพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็ว
พวกเราสามารถสร้างคอมพิวเตอร์ที่เล็กลงและมีประสิทธิภาพมากขึ้นได้ในเวลาเดียวกัน
แต่กระบวนการเหล่านี้ก็ใกล้จะมาถึงข้อจำกัดทางกายภาพแล้ว
ชิ้นส่วนของคอมพิวเตอร์กำลังจะมีขนาดเท่ากับอะตอม
เพื่อที่จะเข้าใจถึงปัญหา เราจะต้องรู้พื้นฐานกันก่อน
เอาล่ะ คอมพิวเตอร์นั้นถูกสร้างขึ้นด้วยชิ้นส่วนที่เรียบง่าย ที่ทำหน้าที่ง่ายๆ
เช่นแสดงผลข้อมูล ประมวลผลข้อมูล และกลไกการควบคุม
ตัวชิปคอมพิวเตอร์นั้นประกอบไปด้วยโมดูลมากมาย
ซึ่งโมดูลเหล่านั้นมี Logic gate มากมาย ซึ่งแต่ละ Logic gate เหล่านั้นก็เต็มไปด้วยทรานซิสเตอร์
ทรานซิสเตอร์นั้นเป็นส่วนที่เรียบง่ายที่สุดของหน่วยประมวลผลในคอมพิวเตอร์
โดยพื้นฐานแล้ว สวิทช์เป็นตัวที่เอาไว้ปิดหรือเปิดเส้นทาง
ของข้อมูลที่ไหลเข้ามา
ข้อมูลเหล่านี้ประกอบไปด้วยบิทจำนวนมาก ซึ่งบิทเหล่านี้อาจจะเป็น 0 หรือ 1 ก็ได้
การรวมตัวของบิทจำนวนมากนั้นจะใช้แทนข้อมูลที่ซับซ้อน
การรวมตัวของทรานซิสเตอร์จำนวนมาก ก็จะใช้แทน Logic gate ที่ทำหน้าที่ที่เรียบง่าย
ยกตัวอย่างเช่น AND gate จะส่ง 1 ออกไปถ้าบิทที่เข้ามาเป็น 1 ทั้งหมด
ในทางกลับกันก็จะเป็น 0 ถ้าบิทที่เข้ามาไม่ใช่ 1 ทั้งหมด
ซึ่งการรวมตัวกันของ Logic gates จำนวนมากนี้แหละ ที่จะทำให้เกิดเป็นโมดูลที่ใช้งานได้
เช่นการบวกเลข
เมื่อบวกเลขได้ ก็สามารถคูณได้เช่นกัน และเมื่อคูณเลขได้
ก็สามารถทำอะไรก็ได้
เมื่อการทำงานพื้นฐานทั้งหมดนั้นง่ายกว่าคณิตศาสตร์ ป.1 ซะอีก !
คุณสามารถจินตนาการได้เลยว่าคอมพิวเตอร์นั้นเป็น แก๊งเด็กที่มีอายุเพียง 7 ขวบ
ที่คอยตอบคำถามคณิตศาสตร์ง่ายๆ
เมื่อแก๊งเด็กเหล่านี้มีเยอะเพียงพอก็จะสามารถประมวลผลอะไรก็ได้ ตั้งแต่ดาราศาสตร์จนไปถึง Zelda
อย่างไรก็ตาม เมื่อชิ้นส่วนเหล่านี้มีขนาดเล็กลงเรื่อยๆ
ฟิสิกส์ควอนตัมจึงทำให้สิ่งต่างๆซับซ้อนขึ้น
โดยย่อแล้ว ทรานซิสเตอร์เป็นเพียงสวิทช์ไฟฟ้าตัวหนึ่ง
ไฟฟ้านั้นก็คืออิเล็กตรอนที่วิ่งจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง
ดังนั้นสวิทช์ก็คือตัวที่กั้นทางเดินของไฟฟ้าในทิศทางหนึ่งๆ
ทุกวันนี้ ทรานซิสเตอร์ทั่วไปมีขนาด 14 นาโนเมตร
ซึ่งเล็กกว่าเส้นผ่านศูนย์กลางของไวรัส HIV ประมาณ 8 เท่า
และเล็กกว่าเซลล์เม็ดเลือดแดง 500 เท่า
เมื่อขนาดของทรานซิสเตอร์ลดจนเท่ากับอะตอมเพียงจำนวนหนึ่ง
อิเล็กตรอนจึงอาจจะไหลผ่านไปยังอีกด้านของบล๊อค
ผ่านกระบวนการที่เรียกว่าอุโมงค์ควอนตัม (quantum tunneling)
ในอาณาจักรของควอนตัม ฟิสิกส์นั้นทำงานค่อนข้างที่จะแตกต่างจากเดิม
ที่เราสามารถคาดเดาได้
และการทำงานคอมพิวเตอร์ก็จะไม่สมเหตุสมผลอีกต่อไป
เราพยายามที่จะใช้วิธีทางกายภาพสำหรับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี
เพื่อที่จะแก้ปัญหาที่นักวิทยาศาสตร์พยายามจะแก้ไข
เราจะใช้ข้อได้เปรียบของคุณสมบัติทางควอนตัมที่ไม่ปรกติเหล่านี้
ในการสร้างควอนตัมคอมพิวเตอร์
ปกติแล้วในคอมพิวเตอร์ บิทจะเป็นหน่วยที่เล็กที่สุดของข้อมูล
แต่ในควอนตัมคอมพิวเตอร์นั้นจะใช้ คิวบิท (qubit) ซึ่งสามารถเป็นได้ทั้ง 0 และ 1
คิวบิทยังสามารถมีได้สองระดับในระบบของควอนตัม
เช่นการหมุนในสนามแม่เหล็ก หรือเป็นเพียงโฟตอนเดี่ยวๆ
โดยในสถานะนี้อาจจะเป็นได้ทั้ง 0 และ 1
เหมือนกับการโพลาไรซ์ทั้งแนวนอนและแนวตั้ง
ในโลกของควอนตัม คิวบิทไม่จำเป็นต้องเป็น 0 หรือ 1
แต่มันสามารถเป็นได้ทั้ง 0 และ 1 ในเวลาเดียวกัน !
สถานะนี้เรียกว่า สถานะทับซ้อน
แต่ทันทีที่ทดสอบค่าของมัน โดยส่งโฟตอนผ่านตัวกรอง
มันจะต้องตัดสินใจที่จะโพลาไรซ์ทั้งแนวตั้งและแนวนอน
ดังนั้น ตราบใดที่มันไม่สามารถตรวจสอบค่าได้ ก็เป็นไปได้ที่คิวบิทจะอยู่ในสถานะทับซ้อน
ที่สามารถเป็นได้ทั้ง 0 และ 1 ซึ่งคุณไม่สามารถคาดเดาได้เลยว่าจะเป็นอะไร
แต่ทันทีที่คุณวัดค่ามัน มันก็จะเปลี่ยนเป็นอีกค่าหนึ่งซะแล้ว !
สถานะทับซ้อนคือตัวเปลี่ยนเกม
รูปแบบของ 4 บิททั่วไป สามารถมีได้ทั้งหมด 2 ยกกำลัง 4
รูปแบบในเวลาเดียวกัน
ทั้ง 16 รูปแบบนั้นจะสามารถใช้ได้เพียง 1 รูปแบบเท่านั้น
อย่างไรก็ตาม 4 คิวบิทในสถานะทับซ้อน
สามารถเป็นได้ทั้งหมด 16 รูปแบบในเวลาเดียวกัน !
ซึ่งตัวเลขนี้จะเพิ่มขึ้นอย่างเอ็กโพเนนเชียล ในทุกคิวบิทที่เพิ่มเข้ามา
คิวบิท 20 ตัวนั้นสามารถเก็บค่าได้ 1 ล้านค่าในเวลาเดียวกัน
คุณสมบัติของคิวบิทที่แปลกและขัดต่อสามัญสำนึกอย่างมาก
ก็คือ entanglement ซึ่งเป็นการเชื่อมตัวระหว่างคิวบิท
ที่ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงสถานะของคิวบิทอื่นๆทันที
โดยไม่เกี่ยงว่าพวกมันจะห่างกันไกลขนาดไหน
นั่นหมายความว่าเมื่อวัดค่าคิวบิทที่ entangled แล้ว
คุณสามารถทำนายสถานะของเพื่อนมันได้เลยโดยที่ไม่ต้องวัดค่าอีก
สำหรับการทำงานของคิวบิทก็เป็นเรื่องที่น่าปวดหัวเช่นกัน
โดยลอจิกเกทปกติจะรับกลุ่มของค่าง่ายๆที่ส่งเข้ามา
และส่งออกไปเพียงผลลัพธ์เดียว
ในขณะที่ควอนตัมเกทรับค่าคิวบิทที่มีสถานะทับซ้อน
สุ่มความน่าจะเป็น และสร้างผลลัพท์ที่เป็นสถานะทับซ้อนอีกคิวบิทหนึ่งออกมา
ดังนั้นควอนตัมคอมพิวเตอร์เตรียมคิวบิทจำนวนหนึ่ง ผ่านควอนตัมเกทเพื่อยึดติดกัน
และจัดการกับความน่าจะเป็น จากนั้นก็วัดค่าผลลัพท์ออกมา
และยุบการทับซ้อนทั้งหมดเป็นกลุ่มของ 0 และ 1 เรียงต่อกัน
หมายความว่าคุณจะได้การคำนวณทั้งหมดออกมา
นั่นเป็นไปได้ว่าคำนวณค่าทั้งหมดจะเสร็จพร้อมกัน
ในที่สุดแล้ว จะสามารถวัดได้เพียงค่าหนึ่งในผลลัพท์ทั้งหมด
และมันอาจจะเป็นค่าที่ต้องการ
ดังนั้นอาจจะต้องตรวจสอบและลองอีกครั้ง
แต่ถ้าใช้ประโยชน์จากการทับซ้อนและการยึดติดกันอย่างชาญฉลาดแล้วล่ะก็
นี่อาจจะทำให้ควอนตัมคอมพิวเตอร์มีประสิทธิภาพมากขึ้นหลายเท่าตัว
มากกว่าทุกๆความเป็นไปได้บนคอมพิวเตอร์ปกติทั้งหมด
ดังนั้น ในขณะที่ควอนตัมอาจจะยังไม่สามารถแทนที่คอมพิวเตอร์ของเราได้
แต่ในงานบางอย่างพวกมันทำงานได้เหนือกว่าโดยสิ้นเชิง
หนึ่งในนั้นคือการสืบค้นข้อมูล
เพื่อหาบางสิ่งบางอย่างในฐานข้อมูล
บนคอมพิวเตอร์ปกติอาจจะต้องทดสอบทุกๆชุดข้อมูล
แต่อัลกอริธึมของควอนตัมนั้นใช้เวลาเพียงรากที่สองของเวลานั้น
ยิ่งขนาดฐานข้อมูลโตมากเท่าไหร่ ยิ่งมีความแตกต่างมากเท่านั้น
ตัวอย่างการใช้งานควอนตัมคอมพิวเตอร์ที่โด่งดังที่สุดคือการเจาะระบบความปลอดภัย
ในปัจจุบันนี้ ข้อมูลการท่องเว็บ อีเมล และข้อมูลธนาคาร
ถูกเก็บอย่างปลอดภัยด้วยระบบเข้ารหัสที่ให้กุญแจสาธารณะกับทุกคน
เพื่อเข้ารหัสข้อความที่มีเพียงคุณเท่านั้นที่ถอดรหัสได้
ปัญหาคือว่ากุญแจสาธารณะนี้สามารถใช้
เพื่อคำนวณกุญแจลับของคุณออกมาได้
โชคดีที่ว่า การคำนวณเช่นนั้นบนคอมพิวเตอร์ปกติ
อาจจะใช้เวลาหลายปีโดยวิธีการลองผิดลองถูก
แต่ในควอนตัมคอมพิวเตอร์ด้วยความเร็วที่เพิ่มขึ้นอย่างมหาศาล
อาจจะสามารถทำได้เพียงเสี้ยววินาที
การใช้งานอีกอย่างที่น่าตื่นเต้นมากๆคือการจำลอง
การจำลองในโลกของควอนตัมคอมพิวเตอร์นั้นใช้ทรัพยากรอย่างมหาศาล
และยิ่งไปกว่านั้นในโครงสร้างที่ใหญ่มากขึ้น เช่นกลุ่มของโมเลกุล
พวกมันมักจะขาดความแม่นยำ
ดังนั้นทำไมไม่จำลองควอนตัมฟิสิกส์ด้วยควอนตัมคอมพิวเตอร์จริงๆล่ะ?
การจำลองควอนตัมสามารถให้ข้อมูลเชิงลึกใหม่ในโปรตีน
นั่นอาจจะเป็นการปฏิวัติวงการยาเลยก็ได้
ในตอนนี้เราไม่รู้ว่าควอนตัมคอมพิวเตอร์จะเป็นอย่างไร
เป็นเพียงเครื่องมือที่พิเศษหรือเครื่องมือที่เป็นการปฏิวัติที่ยิ่งใหญ่สำหรับมนุษยชาติ
เราไม่รู้เลยว่าขีดจำกัดของเทคโนโลยีอยู่ที่ไหน
และมันมีเพียงหนทางเดียวที่สามารถรู้ได้!
วิดีโอนี้สนับสนุนโดยสถาบันการศึกษาวิทยาศาสตร์ออสเตรเลีย
ที่ส่งเสริมและสนับสนุนความเป็นเลิศในด้านวิทยาศาสตร์
เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับหัวข้อนี้และอื่น ๆ
ที่ nova.org.au
มันน่าตื่นเต้นในการทำงานกับพวกเขา ดังนั้นลองเข้าไปดูเว็บไซต์ของพวกเขา !
วิดีโอของเราสามารถเป็นไปได้ด้วยการสนับสนุนของคุณบน Patreon.com
ถ้าคุณต้องการสนับสนุนพวกเรา และเป็นส่วนหนึ่งของ Kurzgesagt bird army
ลองไปดูเว็บ Patreon ของเรา!
Thai Subtitles by Euro (phuchit.sir{gmail.com)