Geoengineering: แนวคิดที่น่ากลัวที่เราอาจจะต้องทำ | Kurzgesagt

🎁Amazon Prime 📖Kindle Unlimited 🎧Audible Plus 🎵Amazon Music Unlimited 🌿iHerb 💰Binance

วิดีโอ

สรุป

ในช่วงปลายศตวรรษที่ 21 มนุษยชาติกำลังจะสิ้นหวัง

คลื่นความร้อนและความแห้งแล้ง ที่มีนานนับทศวรรษ ทำให้เก็บพืชผลได้น้อย

ขณะที่น้ำในมหาสมุทรอุ่นขึ้น ทำให้ปลาลดลงในแต่ละปี

ในพื้นที่เขตร้อน คนนับล้าน ต้องทรมานจากความอดอยาก

และสงครามแย่งชิงทรัพยากร ทำให้ผู้คนคนนับล้านต้องหนีขึ้นเหนือ

เมื่อสิ่งต่างๆ แย่ลงอย่างรวดเร็ว และด้วยความสิ้นหวัง

รัฐบาลโลกตัดสินใจทำแผนเร่งด่วนขึ้นมา

ยังห่างไกลจากความแน่นอน ที่เหตุการณ์แบบนี้จะเกิดขึ้น

แต่ความล้มเหลวของผู้นำโลกในการ เปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างจริงจัง

ยิ่งทำให้มันดูเป็นไปไม่ได้

ดังนั้นในอนาคตอันใกล้นี้ มันอาจจำเป็นต้องลองใช้สิ่งที่รุนแรง

เพื่อชะลอการเปลี่ยนแปลง สภาพภูมิอากาศอย่างรวดเร็ว

วิศวกรรมภูมิศาสตร์

การแทรกแซงขนาดใหญ่ที่อาจย้อน พฤติกรรมของมนุษย์ไปหลายศตวรรษ

หรืออาจทำให้ทุกอย่างแย่กว่าเดิม

วิศวกรรมภูมิศาสตร์คืออะไร มันเป็นทางเลือกจริงๆ หรอ

แล้วถ้าเกิดผิดพลาดขึ้นมาล่ะ?

[INTRO]

วิธีการทางวิศวกรรมภูมิศาสตร์นั้น แตกต่างไปจากวิธีที่น่าสนใจอื่นๆ

อย่างเช่น สร้างผืนผ้าใบยักษ์ในอวกาศ ไปจนถึงการเพาะเมฆด้วยเกลือ

หรือการใส่ธาตุเหล็กในลงไปในทะเล เพื่อเร่งการเติบโตของเซลล์สาหร่าย

ในวิดีโอนี้เราจะโฟกัสไปที่การแทรกแซง ที่เราสามารถเห็นได้ในช่วงชีวิตของเรา

การฉีดสเปรย์บนชั้นสตราโตสเฟียร์

วิธีประหลาด ที่หมายถึงการพ่นบางสิ่ง ขึ้นไปบนชั้นบรรยากาศเพื่อกันแสงแดด

ทำให้ดวงอาทิตย์ห่างออกไป

CO2 ไม่ได้ทำให้โลกร้อนด้วยตัวของมันเอง

เกือบทั้งหมดมาจากพลังงานที่โลกได้รับ จากดวงอาทิตย์ในรูปของรังสีแม่เหล็กไฟฟ้า

ประมาณ 71% ของพลังงานนี้ถูกดูดซับ โดยพื้นผิวโลกและชั้นบรรยากาศ

พลังงานที่ถูกดูดซับถูกปล่อย ออกมาอีกครั้งในรูปของรังสีอินฟาเรด

CO2 สามารถดักจับรังสีอินฟาเรดได้ และกักเก็บมันไว้ในชั้นบรรยากาศขณะหนึ่ง

คุณสามารถเปรียบเทียบได้ กับการซุกตัวอยู่ใต้ผ้าห่มในตอนเช้า

แม้ว่าในห้องจะหนาวมาก ร่างกายของเราก็ปล่อยรังสีอินฟาเรด

และอากาศระหว่างร่างกายกับผ้าห่ม จะสร้างความอบอุ่นและสบายตัว

ดังนั้นวิธีหนึ่งที่จะทำให้โลกเย็นลง

คือการป้องกันไม่ให้พลังงาน ถูกกักเก็บไว้ในโลกของเรา

ซึ่งก็เกิดขึ้นตามธรรมชาติอยู่แล้ว

ประมาณ 29% ของรังสีดวงอาทิตย์ที่ตกกระทบพื้นโลก

จะสะท้อนกลับไปในอวกาศโดยพื้นผิวที่สว่าง อย่างน้ำแข็ง ทะเลทราย หิมะหรือก้อนเมฆ

ยิ่งมีการสะท้อนมาก พลังงานน้อยลง ความร้อนก็จะน้อยตาม

เราสามารถนำธรรมชาติ มาเป็นแรงบันดาลใจได้

โดยเฉพาะการปะทุ ของภูเขาไฟปินาตูโบในปี 1991

ซึ่งเป็นการปะทุของภูเขาไฟ ที่ใหญ่เป็นอันดับสองของศตวรรษที่ 20

นอกจากความเสียหายครั้งใหญ่ และผู้เสียชีวิตเกือบ 900 รายแล้ว

นักวิทยาศาสตร์ยังสังเกตเห็น ผลกระทบที่รุนแรงต่อสภาพภูมิอากาศโลก

การระเบิดได้ปล่อยอนุภาค และก๊าซหลายล้านตัน

สูงเท่ากับชั้นสตราโตสเฟียร์ และลอยอยู่อย่างนั้นสักพักหนึ่ง

สิ่งที่น่าสนใจเกี่ยวกับวิศวกรรมภูมิศาสตร์ คือ ซัลเฟอร์ไดออกไซด์

ก๊าซที่มีกลิ่นเหม็นและมองไม่เห็น

เมื่ออยู่ในชั้นบรรยากาศสูง จะสร้างละอองหมอกกรดซัลฟิวริก

ที่ผสมกับน้ำและสร้างม่านขนาดยักษ์

ม่านพวกนี้จะช่วยลดแสงแดด ที่ส่องมายังพื้นผิวโลกได้ประมาณ 1%

อุณหภูมิเฉลี่ยทั่วโลกลดลง 0.5 องศาเซลเซียส

มันใช้เวลาถึง 3 ปี ก่อนที่ กระบวนการความเย็นจะหยุดลง

มนุษย์สามารถเลียนแบบกระบวนการนี้ได้

โดยฉีดพ่นอนุภาคกัมมะถัน เข้าไปในชั้นสตราโตสเฟียร์โดยตรง

ตามที่นักวิทยาศาสตร์บางคนบอก มันอาจจะทำได้ง่ายจนน่าแปลกใจ

และเราไม่ต้องใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ ด้วย

จากการศึกษาหนึ่งพบว่า มันอาจมีราคาถูกเมื่อเทียบกับ

ค่าใช้จ่ายในการเปลี่ยนแปลง สภาพภูมิอากาศอย่างรวดเร็ว

ฝูงบินพิเศษขนาดเล็ก สามารถบินขึ้นไปปีละครั้ง

เพื่อกระจายละอองลอยไปตาม เส้นศูนย์สูตร และมันจะกระจายไปทั่วโลก

คาดการณ์ว่าการฉีดวัสดุ ประมาณ 5 - 8 ตันต่อปี

จะช่วยสะท้อนแสงแดดมากพอ ที่จะชะลอหรือหยุดภาวะโลกร้อน

ให้เวลาอันมีค่าแก่เราในการ เปลี่ยนจากการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล

โชคไม่ดีที่มันอาจจะ มีผลข้างเคียงที่ไม่ดีอยู่บ้าง

มีปัญหาหลายอย่างที่จะตามมา จากการฉีดพ่นละอองลอย

รูปแบบของฝนอาจเปลี่ยน ก่อให้เกิดผลเสีย ต่อการเกษตรและทำให้เกิดความอดอยาก

คนหลายพันล้านคนอาจได้รับ ผลกระทบนี้ ในกรณีที่แย่ที่สุด

นอกจากนั้น หลังจากการปะทุ ของภูเขาไฟปินาตูโบในปี 1991

ม่านน้ำ/กรดไม่เพียงแต่ ทำให้พื้นผิวเย็นลงเท่านั้น

แต่ยังทำให้ชั้นสตราโตสเฟียร์ร้อนขึ้นด้วย

ปรากฎว่ากรดไม่ดีต่อชั้นโอโซน

และช่องโหว่โอโซนเหนือแอนตาร์กติกา เป็นรูโอโซนที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีมา

การฉีดอนุภาคกัมมะถันเป็นเวลา หลายทศวรรษอาจให้ผลลัพธ์คล้ายกัน

นักวิทยาศาสตร์ให้คำแนะนำ ว่าควรใช้แร่ธาตุต่างๆ รวมกัน

ซึ่งอาจส่งผลเสียต่อชั้นโอโซนน้อยกว่า

แต่ต้องมีการวิจัยและทดลองมากกว่านี้ เพื่อให้แน่ใจว่าวิธีนี้จะได้ผล

แต่แม้ว่าเราจะไม่ได้ทำลายชั้นโอโซน แต่ก็ยังมีความเสี่ยงอื่นๆ

นักการเมืองและอุตสาหกรรมอาจเพิกเฉย

หาข้ออ้างเพื่อชะลอการเปลี่ยนไปใช้ เศรษฐกิจที่ปล่อยคาร์บอนเป็นกลาง

ถึงแม้ว่าวิศวกรรมภูมิศาสตร์ จะช่วยชะลอภาวะโลกร้อน

มนุษย์ก็ยังคงเพิ่ม CO2 ขึ้นไปในชั้นบรรยากาศ

CO2 ในอากาศมากขึ้น หมายถึงมหาสมุทรต้องดูดซับ CO2 เพิ่ม

ทำให้มหาสมุทรมีความเป็นกรดเพิ่มขึ้น

สิ่งนี้เริ่มเป็นอันตรายต่อระบบนิเวศ ขนาดใหญ่ เช่น แนวปะการัง

และถ้ายิ่งปล่อยไว้นาน ผลกระทบก็จะรุนแรงมากขึ้นด้วย

แต่มันอาจแย่กว่านี้ หากเราเพิ่มอนุภาค ขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศในปริมาณมาก

เราอาจต้องทำอย่างนั้นไปเรื่อยๆ หรือเราอาจเสี่ยงกับผลกระทบหากเราหยุดทำ

หมายความว่าหากมนุษย์ยังคงเพิ่ม CO2 ในชั้นบรรยากาศต่อไปเรื่อยๆ

ในขณะเดียวกันก็ป้องกันไม่ให้โลกร้อนขึ้น ด้วยการกั้นรังสีจากดวงอาทิตย์

เราอาจกำลังอยู่บนระเบิดเวลา

เมื่อเราหยุดวิศวกรรมภูมิศาสตร์ กระบวนการทางธรรมชาติกลับมาแทนที่อีกครั้ง

และโลกก็จะร้อนขึ้น

แต่หลังจากผ่านไปไม่กี่ทศวรรษ ในการทำให้โลกเย็นลง

ขณะที่ยังปล่อย CO2 จำนวนมหาศาลอยู่ โลกก็จะร้อนขึ้น ร้อนขึ้นเร็วมากๆ

และอุณหภูมิปัจจุบันที่อาจเพิ่มขึ้นใน 50 ปี อาจใช้เวลาเพียงแค่ 10 ปี

อุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วนี้

จะรบกวนทุกๆ ระบบนิเวศบนโลก จนไม่สามารถปรับตัวได้ทัน

ในกรณีที่แย่ที่สุดอาจกลายเป็นความอดอยาก และเกิดการทำลายระบบนิเวศอย่างรวดเร็ว

มนุษย์อาจอยู่รอด แต่ผู้รอดชีวิตจะ อาศัยอยู่ในโลกที่ไม่คุ้นเคยและไม่เป็นมิตร

กรณีที่ดีที่สุดคือ เมื่อโลกเข้าใจ อย่างถ่องแท้ถึงอันตรายที่มีอยู่

ของการเปลี่ยนแปลง สภาพภูมิอากาศอย่างรวดเร็วแล้ว

วิศวกรรมภูมิศาสตร์อาจยื้อเวลาให้เรา ได้ประมาณหนึ่งหรือสองทศวรรษ

ถึงเวลาเปลี่ยนระบบเศรษฐกิจของเรา และอาจถึงขั้นนำ CO2 ออกจากชั้นบรรยากาศ

อาจจะใช้เทคโนโลยีเข้าช่วย เราจะพูดถึงกันในวิดีโอหน้า

บทสรุป

วิศวกรรมภูมิศาสตร์เป็นแนวคิดที่น่ากลัว

มันไม่ใช่วิธีแก้ปัญหา การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

และอาจเป็นข้อแก้ตัวสำหรับ อุตสาหกรรมเชื้อเพลิงฟอสซิล

ที่ควรชะลอการสิ้นสุด ของยุคเชื้อเพลิงฟอสซิล

ในช่วงสองสามทศวรรษที่ผ่านมา วิศวกรรมภูมิศาสตร์เป็นที่โต้เถียงกันมาก

จนทำให้นักวิทยาศาสตร์บางคนหยุดทำ การทดลองที่จำเป็นเพื่อที่จะเข้าใจมันได้ดีขึ้น

แต่สิ่งที่ตรงกันข้ามกับวิศวกรรมภูมิศาสตร์ คือการมองในระยะสั้นๆ

ความจริงที่น่าเศร้าคือ เรากำลัง ทำการทดลองวิศวกรรมภูมิศาสตร์อยู่แล้ว

เรากำลังทดสอบว่าโลกเปลี่ยนแปลงเร็วแค่ไหน หากเราเพิ่ม CO2 ประมาณ 4 หมื่นล้านตันต่อปี

การทดลองนี้เป็นเรื่องที่น่าตื่นเต้นเสียจริง

หวังว่าเราจะไม่ต้องใช้วิศวกรรมภูมิศาสตร์

แต่ถ้าหากจำเป็นในอนาคต เราต้องทำมันด้วยวิทยาศาสตร์

เราควรจะเตรียมตัวเอาไว้ก่อน

หรือมนุษยชาติที่ตื่นตระหนก อาจกดปุ่มทำลายตัวเองโดยไม่ได้ตั้งใจ

คุณอาจจะไม่ต้องทำอะไรด้วยตัวของคุณเอง

แต่ใครจะไปรู้! มาทบทวนความรู้วิทยาศาสตร์ กันหน่อยดีกว่า แค่เผื่อเอาไว้

เพื่อนของเราจาก brilliant ช่วยคุณได้

brilliant คือเว็บไซต์และแอปแก้ปัญหา ที่ทำให้วิทยาศาสตร์เข้าถึงได้ในทางปฏิบัติ

มีคอร์สโต้ตอบมากกว่า 60 คอร์ส

ที่ให้เครื่องมือคุณได้แก้ปัญหาด้าน คณิตศาสตร์ ตรรกะและวิศวกรรมด้วยตนเอง

แทนที่จะเป็นการบรรยายแบบธรรมดา

brilliant ใช้การเล่าเรื่อง การเขียนโค้ด และการแก้ปัญหาด้วยตนเอง

เพื่อให้คุณเพลิดเพลินและมีส่วนร่วม

ชาเลนจ์เล็กๆ ในแต่ละวันจะสร้าง ความเข้าใจในวิทยาศาสตร์ระยะยาว

และบรรลุเป้าหมาย STEM ของคุณได้

โดยสรุปแล้ว brilliant ทำให้คุณแปลกใจและคอยดูแลคุณ

ในขณะที่เพิ่มความรู้ในหัวคุณ โดยที่คุณไม่ทันได้รู้ตัว น่าสนใจใช่ไหมล่ะ

หากต้องการทราบมุมมองใหม่ๆ เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์

ไปที่ Brilliant.org/Nutshell และสมัครได้ฟรี

และยังมีสิทธิพิเศษ สำหรับผู้ชมของ kurzgesagt

200 คนแรกที่ใช้ลิงก์ดังกล่าว รับส่วนลด 20% จากค่าสมัครสมาชิกรายปี

ซึ่งช่วยให้คุณได้ดูปัญหาประจำวัน ทั้งหมดในคลัง และปลดล็อกทุกๆ คอร์ส

brilliant ช่วยให้คุณฉลาดขึ้นในแต่ละวัน

เป็นการเตรียมตัวที่ดีที่สุด สำหรับอนาคตที่เราคิดได้

[OUTTRO]

translated by Anothertemp_