การเผชิญหน้ากับการล่มสลายของอารยธรรม? | Kurzgesagt

🎁Amazon Prime 📖Kindle Unlimited 🎧Audible Plus 🎵Amazon Music Unlimited 🌿iHerb 💰Binance

วิดีโอ

สรุป

เมื่อถึงจุดสูงสุด จักรวรรดิโรมัน เป็นบ้านของประชากรประมาณ 30% ของโลก

และในหลายๆ ด้าน จักรวรรดิโรมันยังเป็น จุดสูงสุดของความเจริญก้าวหน้าของมนุษย์

พลเมืองของตนได้รับประโยชน์ จากระบบทำความร้อนส่วนกลาง คอนกรีต

กระจกสองชั้น ธนาคาร การค้าระหว่างประเทศ และการเคลื่อนย้ายทางสังคมที่สูงขึ้น

โรมกลายเป็นเมืองแรกในประวัติศาสตร์ ที่มีประชากรถึง 1 ล้านคน

และเป็นศูนย์กลางของความก้าวหน้า ทางเทคโนโลยี กฎหมาย และเศรษฐกิจ

เป็นอาณาจักรที่โค่นไม่ได้ มั่นคง มั่งคั่ง และทรงพลัง

จนกระทั่งไม่ได้เป็นเช่นนั้นอีกต่อไป

ตอนแรกเกิดขึ้นช้าๆ และในทันใดนั้น อารยธรรมที่มีอำนาจมากที่สุดในโลกก็ล่มสลาย

คำว่าอารยธรรม เราหมายถึงสังคมที่ซับซ้อน

ซึ่งมีแรงงานที่เชี่ยวชาญ เกิดชนชั้นทางสังคม และปกครองโดยสถาบันต่างๆ

อารยธรรมต่างใช้ภาษา และวัฒนธรรมร่วมกันที่โดดเด่น

ปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์ไว้เพื่อ เป็นอาหารและหล่อเลี้ยงเมืองใหญ่

ซึ่งพวกเขามักสร้างอนุสาวรีย์ที่น่าประทับใจ

อารยธรรมทำให้เรามีประสิทธิภาพในวงกว้าง รวบรวมความรู้จำนวนมหาศาล

นำความฉลาดของมนุษย์ และทรัพยากรของโลกมาใช้งาน

หากไร้อารยธรรม คนส่วนใหญ่ก็คงไม่ได้เกิดมา

ซึ่งทำให้ค่อนข้างกังวลว่า การล่มสลายคือกฎ ไม่ใช่ข้อยกเว้น

อารยธรรมเกือบทั้งหมดจบสิ้นลง โดยเฉลี่ยหลังจากผ่านไป 340 ปี

การล่มสลายไม่ค่อยดีสำหรับตัวบุคคล

เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม ที่มีร่วมกันของพวกเขาถูกทำลาย

เมื่อสถาบันต่างๆ สูญเสียอำนาจในการควบคุมคน

ความรู้สูญหาย มาตรฐานการครองชีพลดลง

ความรุนแรงเพิ่มขึ้น และบ่อยครั้งที่ประชากรลดลง

อารยธรรมอาจหายไปโดยสิ้นเชิง หรือถูกเพื่อนบ้านที่แกร่งกว่ายึดครอง

หรือมีสิ่งใหม่ๆ เกิดขึ้น บางครั้งก็มีเทคโนโลยีมากกว่าเมื่อก่อน

หากเป็นเช่นนี้มาช้านาน แล้วอย่างพวกเราในวันนี้ล่ะ?

[INTRO]

เช่นเดียวกับที่ชาวยุโรปลืมวิธีสร้าง ระบบประปาในร่มและทำซีเมนต์

เราจะสูญเสียเทคโนโลยีอุตสาหกรรมของเราไหม?

และด้วยความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ของเรา ตั้งแต่พิซซ่า โทรศัพท์ หรือการทำเลสิก

สิ่งต่างๆ ทั้งหมดนี้จะหายไปด้วยไหม?

ปัจจุบัน เมืองของเราขยาย ออกไปหลายพันตารางกิโลเมตร

เราเดินทางบนท้องฟ้า การสื่อสารของเราเกิดขึ้นในทันที

อุตสาหกรรมการเกษตรพร้อม พืชผลทางวิศวกรรมที่ให้ผลผลิตสูง

เครื่องจักรที่มีประสิทธิภาพและปุ๋ยคุณภาพสูง ที่เลี้ยงผู้คนหลายพันล้านคน

ยาแผนปัจจุบันทำให้เรา มีอายุขัยยาวนานที่สุดเท่าที่เคยมี

ขณะที่อุตสาหกรรมเทคโนโลยีที่ให้ ความสะดวกสบายในแบบที่ไม่เคยมีมาก่อน

แม้ว่าเรายังไม่ได้เรียนรู้ที่จะทำสิ่งเหล่านี้ โดยไม่ทำลายระบบนิเวศของเรา

ทุกวันนี้ยังคงมีอารยธรรมที่ต่างกัน ซึ่งแข่งขันกันและอยู่ร่วมกันได้

แต่เมื่อรวมกันแล้ว พวกเขาจะกลายเป็นหนึ่ง เป็นอารยธรรมโลก

แต่ในปัจจุบัน อารยธรรมโลกาภิวัฒน์ ยังคงเปราะบางในบางมุมกว่าอาณาจักรในอดีต

เนื่องจากเรามีความเชื่อมโยงกันอย่างลึกซึ้ง

การล่มสลายของโลกอุตสาหกรรม หมายความว่าชีวิตของคนส่วนใหญ่ในทุกวันนี้

จะพังพินาศ เพราะหากไม่มีอุตสาหกรรมการเกษตร เราจะไม่สามารถเลี้ยงดูพวกเขาได้อีกต่อไป

และมีความเสี่ยงเพิ่มมากขึ้น

จะเกิดอะไรขึ้นหากการล่มสลายร้ายแรงมาก จนเราไม่สามารถกลับมาเป็นอย่างเดิมได้อีก?

ถ้ามันทำลายโอกาสของเราในการเพลิดเพลิน ไปกับอนาคตที่รุ่งเรืองในฐานะสิ่งมีชีวิตบนดาวหลายดวง?

การล่มสลายของอารยธรรมโลก อาจเป็นหายนะของการมีชีวิตอยู่

สิ่งที่ถูกทำลายไปไม่ได้มีเพียงแค่ ชีวิตของทุกคนในปัจจุบันเท่านั้น

แต่ยังรวมถึงคนรุ่นต่อๆ ไปในอนาคตที่อาจจะเกิดมา

ความรู้ทั้งหมดที่เราค้นพบ ศิลปะที่เราสร้าง ความสุขที่เราเคยพบเจอ ทั้งหมดนี้จะหายไป

แล้วทั้งหมดนี้มีความเป็นไปได้มากน้อยเพียงใด?

เริ่มต้นด้วยข่าวดีก่อน แม้ว่า อารยธรรมส่วนใหญ่จะล่มสลายเป็นปกติ

แต่ไม่มีอะไรทำให้อารยธรรมโลกล่มสลายได้

แม้ว่ากรุงโรมล่มสลาย

แต่อาณาจักรอักซุมหรืออาณาจักรเตโอติอัวกาน และอาณาจักรไบแซนไทน์ยังคงดำเนินต่อไป

แล้วการลดลงของประชากรอย่างกระทันหันล่ะ?

จนถึงตอนนี้เรายังไม่พบภัยพิบัติ ที่คร่าชีวิตผู้คนไปมากกว่า 10% ของประชากรโลก

ไม่มีโรคระบาด ไม่มีภัยธรรมชาติ ไม่มีสงคราม

ตัวอย่างที่จำนวนประชากรลดลงอย่างรวดเร็ว ที่เห็นชัดเจนที่สุดคือ กาฬโรค

การระบาดของกาฬโรคต่อมน้ำเหลืองในศตวรรษที่ 14 ที่แพร่กระจายไปทั่วตะวันออกกลางและยุโรป

ฆ่าชาวยุโรปไป 1 ใน 3 ของทั้งหมด และประมาณ 1 ใน 10 ของประชากรโลก

หากมีเหตุการณ์ใดที่จะทำให้เกิดการ ล่มสลายของอารยธรรม ก็ควรจะเป็นเหตุการณ์นี้

แต่แม้กระทั่งกาฬโรคก็ยังแสดงให้เห็นถึง ความยืดหยุ่นของมนุษยชาติมากกว่าความเปราะบาง

ขณะที่สังคมเก่าถูกรบกวนอย่างหนักในระยะสั้น

การสูญเสียชีวิตมนุษย์ และความทุกข์ทรมานอย่างรุนแรง

ส่งผลเสียเล็กน้อยต่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจ และเทคโนโลยีของยุโรปในระยะยาว

จำนวนประชากรฟื้นตัวภายใน 2 ศตวรรษ และอีก 2 ศตวรรษต่อมาก็เกิดการปฏิวัติอุตสาหกรรม

ประวัติศาสตร์เต็มไปด้วยการฟื้นตัว อย่างไม่น่าเชื่อจากโศกนาฏกรรมที่น่ากลัว

อย่างเช่นระเบิดปรมาณูที่ฮิโรชิม่า ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2

มีผู้เสียชีวิต 140,000 คน และ 90% ของเมืองถูกทำลาย

แต่หลังจากนั้น เมืองกลับฟื้นตัวได้อย่างน่าทึ่ง!

ประชากรของฮิโรชิม่า ฟื้นตัวภายในหนึ่งทศวรรษ

และในปัจจุบันเป็นเมืองที่เจริญรุ่งเรือง ซึ่งมีประชากรถึง 1.2 ล้านคน

แต่สิ่งเหล่านี้ไม่ได้ทำให้เหตุการณ์ที่น่าสยดสยองนี้ เลวร้ายน้อยลงสำหรับผู้ที่ผ่านเหตุการณ์นั้นมา

แต่สำหรับเราในฐานะเผ่าพันธุ์ สัญญาณของการฟื้นตัวนี้เป็นข่าวดี

เหตุใดการฟื้นตัวจึงมีโอกาส เกิดขึ้นได้แม้ในกรณีที่แย่ที่สุด

สิ่งหนึ่งที่ต่างจากการล่มสลายในประวัติศาสตร์

คือในขณะนี้มนุษยชาติมี พลังทำลายล้างอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน

อาวุธนิวเคลียร์ในปัจจุบันมีพลังมาก

จนสงครามโลกทั้งหมดอาจทำให้เกิด ฤดูหนาวนิวเคลียร์ และมีผู้เสียชีวิตหลายพันล้านคน

ความรู้เกี่ยวกับชีววิทยา ของเราและวิธีจัดการกับมัน

ได้รับความก้าวหน้าจนเป็นไปได้ ที่จะสร้างไวรัสที่เป็นโรคติดต่อ

ที่เหมือนกับโคโรนาไวรัส และถึงตายได้เหมือนกับอีโบลา

ความเสี่ยงของการเกิดโรคระบาดทั่วโลก สูงขึ้นกว่าในอดีตมาก

ดังนั้นเราอาจทำให้ตัวเองล่มสลาย และอาจแย่กว่าสิ่งที่ธรรมชาติมอบให้

แต่ถ้าสมมติว่า 99% ของประชากรโลกตาย อารยธรรมโลกจะล่มสลายไปตลอดกาลหรือไม่?

เราจะสามารถฟื้นตัว จากโศกนาฏกรรมดังกล่าวได้ไหม?

เรามีเหตุผลบางประการที่จะมองโลกในแง่ดี

เริ่มจากอาหารก่อน

ปัจจุบันมีคนงานทางการเกษตรถึง 1 พันล้านคน แม้ว่าประชากรทั่วโลกจะลดเหลือเพียง 80 ล้านคน

แต่ก็รับประกันได้ว่าผู้ที่รอดชีวิต นั้นจะทราบวิธีผลิตอาหาร

และเราไม่จำเป็นต้องเริ่มตั้งแต่ต้น เพราะ เราสามารถใช้พืชผลสมัยใหม่ที่ให้ผลผลิตสูงได้

ข้าวโพดมีขนาดใหญ่กว่า บรรพบุรุษป่าของมันถึง 10 เท่า

มะเขือเทศโบราณมีขนาดเท่ากับเม็ดถั่วในปัจจุบัน

หลังจากการเกษตร ขั้นต่อไปในการกู้อารยธรรม คือสร้างความสามารถทางอุตสาหกรรมขึ้นใหม่

เช่นโครงข่ายไฟฟ้าและการผลิตอัตโนมัติ

ปัญหาใหญ่คือขนาดเศรษฐกิจของเรา ทำให้ไม่สามารถทำต่อจากสิ่งที่เราเหลือไว้ได้

อุตสาหกรรมไฮเทคจำนวนมากของเรา ทำงานได้เพียงเพราะอุปสงค์จำนวนมาก

และห่วงโซ๋อุปทานที่เชื่อมถึงกัน อย่างเข้มข้นในทวีปต่างๆ

แม้ว่าโครงสร้างพื้นฐานของเราจะไม่ได้รับอันตราย แต่จะเกิดการถอยหลังครั้งใหญ่ทางเทคโนโลยี

แต่เราก็กำลังคิดในกรอบเวลาที่ใหญ่ขึ้น

อุตสาหกรรมเดิมเกิดขึ้นเมื่อ 12,000 ปีก่อน หลังจากการปฏิวัติทางการเกษตร

หากเราต้องเริ่มต้นใหม่ จากการล่มสลายครั้งใหญ่

มันคงไม่ยากนักที่จะสร้างอุตสาหกรรมใหม่ อย่างน้อยก็ในช่วงที่กำลังวิวัฒนาการ

แต่ก็มีผลพวงตามมา การปฏิวัติอุตสาหกรรม เกิดขึ้นจากการเผาไหม้ถ่านหินที่เข้าถึงง่าย

และเรายังคงพึ่งพาถ่านหินอยู่มาก

ถ้าเราใช้จนหมดในวันนี้ นอกจากทำให้การ เปลี่ยนแปลงภูมิอากาศอย่างรวดเร็วแย่กว่าเดิม

เราอาจขัดขวางความสามารถ ในการฟื้นตัวจากวิกฤตครั้งใหญ่

ดังนั้นเราควรเลิกใช้ถ่านหินที่เข้าถึงง่าย

เพื่อกันไม่ให้เกิดสิ่งเลวร้ายกับอารยธรรมของเรา

อีกสิ่งหนึ่งที่ทำให้เกิดการฟื้นตัวคือ เราน่าจะมี ข้อมูลส่วนใหญ่ที่จำเป็นในการสร้างอารยธรรมขึ้นใหม่

แน่นอนว่าเราจะสูญเสีย ความรู้ที่สำคัญไปมากมาย

โดยเฉพาะในฮาร์ดไดรฟ์ที่ไม่มีใคร อ่านหรือดำเนินการได้อีกต่อไป

แต่ความรู้ทางเทคโนโลยี วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมจำนวนมาก

ที่ถูกจัดเก็บไว้ในห้องสมุด กว่า 2.6 ล้านแห่งทั่วโลก จะรอดจากหายนะ

ผู้รอดหลังจากเหตุการณ์ล่มสลาย จะรู้ว่าสิ่งใดที่เคยทำได้

และพวกเขาสามารถแก้ไขเครื่องมือ และเครื่องจักรบางอย่างที่พวกเขาพบได้

โดยสรุปแล้ว แม้จะมีภัยคุกคามที่เลวร้าย ไม่ว่าจะจากธรรมชาติหรือจากเราก็ตาม

ยังมีเหตุผลให้มองโลกในแง่ดีอยู่

มนุษยชาติมีความยืดหยุ่นอย่างน่าทึ่ง และในกรณีที่อารยธรรมโลกล่มสลาย

ดูเหมือนว่าเราจะสามารถที่จะกู้มันกลับมาได้

แม้ว่าหลายคนจะต้องพินาศ ทนทุกข์ หรือเจอกับความยากลำบากครั้งใหญ่

แม้ว่าเราจะศูนย์เสียความสำเร็จ ทางวัฒนธรรมและเทคโนโลยีไปก็ตาม

แต่เมื่อพิจารณาจากการเดิมพันแล้ว ความเสี่ยงก็ยังสูงจนน่าตกใจ

สงครามนิวเคลียร์และโรคระบาดกำลังคุกคาม อารยธรรมโลกอันน่าอัศจรรย์ที่เราสร้างขึ้น

มนุษยชาติก็เหมือนกับวัยรุ่น ขับเร็วตรงมุมบอด เมามาย ไม่คาดเข็มขัดนิรภัย

ข่าวดีคือมันยังเร็วพอ ที่จะเตรียมพร้อมและลดความเสี่ยงเหล่านี้

เราแค่ต้องทำมันจริงๆ

เราทำวิดีโอนี้ร่วมกับ Will Macaskill

ศาสตราจารย์ด้านวิชาปรัชญาที่อ็อกซฟอร์ด

และหนึ่งในผู้ก่อตั้งขบวนการ เห็นแก่ประโยชน์ผู้อื่นอย่างมีประสิทธิภาพ

ซึ่งเกี่ยวกับการทำสิ่งที่ดีที่สุด ที่คุณสามารถทำได้ด้วยเวลาและเงินของคุณ

Will พึ่งตีพิมพ์หนังสือเล่มใหม่ ชื่อว่า What We Owe The Future

ซึ่งเกี่ยวกับวิธีที่’คุณ’จะสามารถส่งผลกระทบ เชิงบวกต่ออนาคตในระยะยาวของโลก

ถ้าคุณชอบวิดีโอของ Kurzgesagt มีโอกาสสูงที่คุณจะชอบหนังสือเล่มนั้น!

หนังสือเล่มนี้มีข้อโต้แย้งที่ค่อนข้างเป็นธรรมชาติ

เช่น ความเสี่ยงจากเทคโนโลยีใหม่ เช่นจาก AI และชีววิทยาสังเคราะห์

ซึ่งอย่างน้อยก็ร้ายแรงพอๆ กับความเสี่ยง จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

หรือว่าโลกนี้ไม่ได้จะมีคน จำนวนมากเกินไปแต่มีจำนวนน้อย

และโดยเฉพาะอย่างยิ่งกับการกระทำในแต่ละวัน เช่น การรีไซเคิลและปฏิเสธที่จะบิน

ไม่ใช่เรื่องใหญ่เมื่อเทียบกับ ที่ที่คุณบริจาคหรือหาอาชีพที่คุณใฝ่หา

ที่สำคัญที่สุด มันโต้แย้งด้วยการกระทำอย่างชาญฉลาด

‘คุณ’สามารถช่วยให้วันพรุ่งนี้ดีกว่าวันนี้ได้

และวิธีที่’เรา’ร่วมกันสร้างโลกที่เฟื่องฟู สำหรับคนหลายพันหรือหลายล้านรุ่นที่จะเกิดหลังเรา

เป็นหลายสิ่งที่เราที่ Kurzgesagt พูดคุยกันประจำที่นี่ โดยมีลายละเอียดมากขึ้น

ลองดู What We Owe The Future สามารถซื้อได้แบบหนังสือหรือหนังสือเสียง

เราจัดการเพื่อปลดล็อกความกลัวใหม่ให้กับคุณหรือยัง?

มาต่อต้านความกลัวการมีชีวิตอยู่ ด้วยความซาบซึ้งต่อมนุษยชาติ

ดูว่าเรามาไกลแค่ไหนในฐานะเผ่าพันธุ์

สิ่งที่เราสร้างและที่ที่เรารวบรวมเอาไว้

ให้โปสเตอร์แผนที่โลกอันใหม่นี้ เป็นเครื่องเตือนใจถึงสิ่งที่เราสามารถทำได้

[OUTRO]

translated by anothertemp_