วิดีโอ
สรุป
หลุมดำเป็นหนึ่งในสิ่งที่ แปลกประหลาดที่สุดเท่าที่เคยมีมา
มันดูไม่มีเหตุผลเลยสักนิดเดียว มันเกิดมาจากอะไร?
และจะเกิดอะไรขึ้นถ้าคุณตกเข้าไปในนั้น?
ดาวฤกษ์คือกลุ่มอะตอมขนาดยักษ์ ซึ่งส่วนใหญ่ประกอบขึ้นจากไฮโดรเจน
แล้วยุบตัวลงจากสภาพเมฆก๊าซขนาดใหญ่ ด้วยแรงดึงดูดของตัวมันเอง
ที่แกนกลาง ปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชั่น อัดไฮโดรเจนรวมกันให้กลายเป็นฮีเลียม
แล้วปล่อยพลังงานมหาศาลออกมา
พลังงานนี้ต้านแรงดึงดูด ในรูปแบบของการแผ่รังสี
คงสภาพสมดุลอันละเอียดอ่อน ระหว่างแรงทั้งสองเอาไว้
ตราบใดที่ยังเกิดการฟิวชั่นของแกนอยู่ ดาวฤกษ์จะยังรักษาความเสถียรไว้ได้
แต่สำหรับดาวฤกษ์ที่มีมวล มหาศาลยิ่งกว่าดวงอาทิตย์ของเรานั้น
ความร้อนและความดันที่แกนกลางทำให้ เกิดการรวมตัวเป็นธาตุที่หนักยิ่งขึ้น ๆ ไป
จนกระทั่งเกิดเป็นเหล็ก
การฟิวชั่นเกิดเป็นเหล็กนั้นแตกต่างจากการ ฟิวชั่นเกิดเป็นธาตุอื่น ๆ ตรงที่
ปฏิกิริยานี้ไม่ก่อพลังงานเพิ่ม
เหล็กก่อตัวเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ที่แกนดาว จนกระทั่งมีปริมาณถึงจุดแตกหัก
และทำให้สมดุลระหว่างการแผ่รังสี และแรงดึงดูดพังทลายลง
แกนของดาวยุบตัว
ภายในเศษเสี้ยวของวินาที ดาวฤกษ์ “ระเบิดยุบตัว” (implode)
ยุบลงด้วยความเร็วประมาณ หนึ่งส่วนสี่ของความเร็วแสง
ป้อนมวลให้แกนกลางเพิ่มขึ้นไปอีก
เป็นชั่วขณะนี้เองที่ธาตุหนักทั้งหลาย ในจักรวาลถูกสร้างขึ้น
ในตอนที่ดาว “ตาย” ด้วย การระเบิดซุปเปอร์โนวา
ดาวฤกษ์จะกลายเป็นดาวนิวตรอน หรือถ้าดาวมีมวลมากพอ
มวลทั้งก้อนของแกนกลาง จะยุบตัวกลายเป็นหลุมดำ
ถ้าคุณมองหลุมดำ สิ่งที่คุณเห็น จริง ๆ แล้วคือ “ขอบเขตเหตุการณ์”
อะไรก็ตามที่ล้ำเข้าไปใน ขอบเขตของเหตุการณ์
จำเป็นต้องเคลื่อนที่ให้เร็วกว่าแสง จึงจะหลุดออกมาได้
กล่าวคือ เป็นไปไม่ได้เลย
ฉะนั้นเราจึงเห็นแค่ทรงกลมสีดำ ที่ไม่มีอะไรสะท้อนออกมาได้
แต่ถ้าขอบเขตเหตุการณ์คือส่วนที่ “ดำ”
แล้วอะไรคือส่วนที่เป็น “หลุม” ของหลุมดำ
มันคือซิงกูลาริตี้ (singularity)
เราไม่รู้ว่าจริง ๆ แล้วมันคืออะไร
ซิงกูลาริตี้อาจมีความหนาแน่นเป็นอนันต์ นั่นคือมวลทั้งหมดของมันถูกอัดอยู่ใน
จุดจุดหนึ่่ง ไม่มีทั้งพื้นผิวและปริมาตร
หรืออาจจะเป็นอะไรอย่างอื่นก็ได้
ณ จุด ๆ นี้ ยังไม่มีใครรู้
มันเหมือนปัญหากับการหารด้วยศูนย์
อีกอย่างหนึ่ง หลุมดำไม่ได้ดูดกลืน วัตถุเข้าไปเหมือนเครื่องดูดฝุ่น
ถ้าเราลองสลับพระอาทิตย์ของเรากับ หลุมดำที่มีมวลพอ ๆ กัน
โลกก็ไม่ได้รับผลอะไรนัก
นอกจากการที่เราจะแข็งตายกันหมด แน่นอน
จะเกิดอะไรขึ้นกับคุณ ถ้าคุณตกลงไปในหลุมดำ
การรับรู้เวลาจะต่างออกไป เวลาอยู่ใกล้หลุมดำ
มองจากภายนอก คุณจะดูเหมือนช้าลง เมื่อคุณเข้าใกล้ขอบเขตเหตุการณ์
นั่นคือเวลาเดินช้าลงสำหรับคุณ
ณ จุดจุดหนึ่ง คุณจะดูเหมือนหยุดนิ่ง
ค่อย ๆ กลายเป็นสีแดง แล้วหายไป
ในขณะที่จากมุมมองของคุณ คุณจะเห็นจักรวาล
ถูกกรอเร่งความเร็ว เหมือนได้มองไปในอนาคต
ณ ตอนนี้ เรายังไม่รู้ว่าจะเกิดอะไรต่อไป
แต่มันอาจจะเป็นหนึ่งในสองอย่างนี้
หนึ่ง: คุณตายอย่างรวดเร็ว
หลุมดำบิดโค้งอวกาศไปมาก หากคุณข้ามขอบเขตเหตุการณ์เข้าไป
จะมีความเป็นไปได้แค่ทางเดียวเท่านั้น
ตรงตัวตามนั้นเลย ภายในขอบเขตเหตุการณ์
คุณสามารถเคลื่อนที่ได้แค่ในทิศทางเดียว
มันเหมือนการเดินในตรอกแคบ ๆ ที่มีประตูปิดไล่หลังทุก ๆ ก้าว
มวลของหลุมดำนั้นถูกอัดแน่นมาก
ถึงขนาดที่บางครั้ง ตำแหน่งที่ห่างกันแค่ ไม่กี่เซนติเมตร
จะมีแรงดึงดูดกระทำกับคุณ มากขึ้นเป็นล้านเท่า
ในส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย
เซลล์ของคุณจะถูกฉีกออกจากกัน ในขณะที่ร่างกายคุณถูกยืดออกเรื่อย ๆ
จนกว่าคุณจะกลายเป็นเส้นสายพลาสมา ร้อน ๆ ที่หนาหนึ่งอะตอม
สอง: คุณจะตายอย่างรวดเร็วมาก
หลังจากที่คุณข้ามขอบเขตเหตุการณ์ คุณจะเจอกับกำแพงไฟ
และถูกกำจัดในทันที
ตัวเลือกทั้งสองนี้คงไม่ค่อยจะโสภานัก
คุณจะตายเร็วแค่ไหนนั้นขึ้นอยู่กับมวลของหลุมดำ
หลุมดำขนาดเล็กจะฆ่าคุณก่อนที่คุณ จะข้ามขอบเขตเหตุการณ์มาเสียอีก
แต่สำหรับหลุมดำมวลยิ่งยวด คุณจะสามารถผ่านเข้าไปในนั้น
ได้สักพักเลยทีเดียว
กฎง่าย ๆ คือ ยิ่งคุณอยู่ห่าง จากซิงกูลาริตี้เท่าไร
คุณยิ่งอยู่ได้นาน
หลุมดำนั้นมีหลายขนาด
มีหลุมดำมวลดาว ที่มีมวลมากกว่า ดวงอาทิตย์แค่ไม่กี่เท่า
และมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณดาวเคราะห์น้อย
แล้วก็ยังมีหลุมดำมวลยิ่งยวด
ซึ่งพบได้อยู่ตรงใจกลางกาแล็กซี่
ดูดกลืนสิ่งของเข้าไปเป็นเวลา หลายพันล้านปี
ณ ตอนนี้ หลุมดำมวลยิ่งยวด ที่ใหญ่ที่สุดที่เรารู้จักคือ S5 0014+81
มีมวลมากกว่าดวงอาทิตย์สี่หมื่นล้านเท่า
มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 2.367 แสนล้านกิโลเมตร
ซึ่งเป็น 47 เท่าของระยะทาง ระหว่างดวงอาทิตย์และดาวพลูโต
แม้ว่าหลุมดำจะทรงพลังขนาดไหน สุดท้ายมันก็จะระเหิดหายไป
ด้วยกระบวนการณ์ที่เรียกว่า การแผ่รังสีฮอว์คิง
ในการที่จะเข้าใจการทำงานของมัน เราต้องมองเข้าไปในพื้นที่ว่างในอวกาศ
อวกาศนั้นจริง ๆ แล้วไม่ได้เป็นที่โล่งว่าง แต่เต็มไปด้วยอนุภาคเสมือน
เกิดขึ้นมาลอย ๆ แล้วทำลายหักล้างกันเอง
เมื่อปรากฏการณ์นี้เกิดขึ้น บริเวณขอบของหลุมดำ
อนุภาคเสมือนตัวหนึ่งจะ ถูกดึงเขาไปในหลุมดำ
ส่วนอีกตัวจะหลุดหนีออกไป แล้วกลายเป็นอนุภาคจริง
นั่นคือ หลุมดำกำลังสูญเสียพลังงาน
ในช่วงแรก ๆ ปรากฏการณ์นี้จะเกิดขึ้นช้ามาก
แต่จะเริ่มเร็วขึ้นเรื่อย ๆ เมื่อหลุมดำมีขนาดเล็กลง
เมื่อหลุมดำมีมวลเท่า ๆ กับ ดาวเคราะห์น้อยขนาดใหญ่
มันจะแผ่รังสีที่อุณหภูมิห้อง
เมื่อมีมวลเท่า ๆ กับภูเขา มันจะแผ่รังสีมากพอ ๆ กับดวงอาทิตย์
และในวินาทีสุดท้ายของชีวิต หลุมดำจะแผ่รังสีออกมา
ด้วยพลังงานระดับระเบิดนิวเคลียร์ หลายพันล้านลูกในการระเบิดครั้งใหญ่
แต่กระบวนการณ์นี้เกิดขึ้นช้ามาก
หลุมดำที่ใหญ่ที่สุดอาจใช้เวลามากถึง กูกอล (googol) ปีจึงจะหายไป
นั่นเป็นเวลาที่นานมากถึงขนาดที่ กว่าหลุมดำจะระเหิดหายไป
ก็ไม่เหลือใครอยู่ดูมันแล้ว
จักรวาลจะอาศัยอยู่ไม่ได้ ก่อนหน้านั้นนานแล้ว
เรื่องเล่าของเรายังไม่จบ
ยังมีแนวคิดที่น่าสนใจ เกี่ยวกับหลุมดำอยู่อีกมาก
เราจะไปดูกันในภาค 2
ขอขอบคุณ Fraser Cain สำหรับ ความช่วยเหลือในการทำวีดีโอนี้
อีกเรื่องหนึ่ง เราได้ทำภาพพื้นหลัง Kurzgesagt ที่ความละเอียด 4k
สำหรับหลาย ๆ ขนาดหน้าจอ
ไปเอาได้ที่หน้าเว็บ patreon ของเรา ซึ่งช่วยเราในการทำวีดีโอได้มากกว่าเดิม
อย่างเดือนธันวาคมนี้ เดือนแรกที่มีถึงสามวีดีโอ!
Subtitles by the Amara.org community