วิศวกรรมพันธุศาสตร์และโรค - การขับเคลื่อนยีนและมาลาเรีย | Kurzgesagt

🎁Amazon Prime 📖Kindle Unlimited 🎧Audible Plus 🎵Amazon Music Unlimited 🌿iHerb 💰Binance

วิดีโอ

สรุป

ถ้าคุณสามารถใช้พันธุวิศวกรรม

หยุดยั้งนักล่าที่อันตรายที่สุดของมนุษย์ได้

สัตว์ที่อันตรายที่สุดบนโลก

คร่าชีวิตนับพันล้าน:

ยุง เจ้ามฤตยู!

พร้อมกับโรคอื่น ๆ

มันเป็นพาหะนำโรคมาลาเรีย,

ปรสิตที่ร้ายกาจที่สุดบนโลก,

น่าจะเป็นนักฆ่าที่ฆ่าคนได้มากที่สุดในประวัติศาสตร์มนุษย์.

ในปี 2015 ปีเดียว หลายร้อยล้านคนติดเชื้อ

เกือบห้าแสนคนได้ตายลง.

เทคโนโลยีใหม่จะช่วยเราถอนรากถอนโคนมาลาเรียตลอดไปได้.

แต่การที่จะทำเช่นนั้นได้

เราต้องตัดแต่งประชากรยุงพาหะทั้งหมด.

นี่ไม่ได้เป็นปัญหาในเชิงทฤษฎี,

ยุงตัดแต่งพันธุกรรมมีแล้วในแลป.

เราควรใช้เทคโนโลยีมั้ย

และมาลาเรียร้ายกาจมากจริง ที่จะเสี่ยงทำเช่นนี้มั้ย?

(เพลง)

มาลาเรียเกิดจากกลุ่มของ จุลชีพ:

พลาสโมเดียม, ซึ่งเป็นจุลชีพที่แปลกทีเดียว

มีเพียงเซลล์เดียว.

มันเป็นปรสิตที่ พึ่งพายุงโดยอย่างเดียว.

มาลาเรียเริ่มต้นเมื่อยุงกัด.

ในต่อมล้ำลายมัน, เชื้อระยะติดต่อ นับพันๆ

รอคอยจนกระทั่งยุงได้เจาะลงบนผิวคุณ.

ทันทีที่เข้าสู่ร่างกายคุณ

มันมุ่งหน้าไปยังตับ

ที่ที่มันเข้าสู่เซลล์มากมายอย่างเงียบๆ

และซ่อนตัวจากระบบภูมิคุ้มกัน.

อยู่ได้เป็นเดือน, พวกมันอยู่ที่นี่ ลักลอบอยู่อาศัย,

ครอบงำชีวิตของเซลล์

และแปรเปลี่ยนไปสู่อีกรูปแบบของมัน:

เรียกว่าเมอโรซอยต์ ที่มีรูปร่างคล้ายหยดน้ำเล็กๆ.

มันเพิ่มจำนวน, เกิดขึ้นหลายพันตัว

และระเบิดออกสู่นอกเซลล์.

แล้วปรสิตนับพันก็ได้ เข้าสู่กระแสเลือด

เพื่อมองหาเหยื่อถัดไปของมัน:

เซลล์เม็ดเลือดแดง.

เพื่อไม่ให้เป็นที่สังเกต,

มันห่อหุ้มตัวมัน

ด้วยเยื่อหุ้มของเซลล์ที่มันได้ฆ่า.

คิดดูสิ: ฆ่าคนอื่นจากข้างใน

แล้วเอาหนังของคนที่ตัวเองฆ่ามาอำพรางตัว.

โหดร้าย!

ตอนนี้พวกมันโจมตีเม็ดเลือดแดงอย่างรุนแรง,

เพิ่มจำนวนข้างใน แล้วระเบิดออกสู่ภายนอกเซลล์อีก,

แล้วก็ไปหาเซลล์เม็ดเลือดแดง มากขึ้น มากขึ้น.

วงจรนี้เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่า.

ชินส่วนของเซลล์ที่ตายแล้วเป็นพิษมาก เป็นของเสียในร่างกาย

ซึ่งทำให้ระบบภูมิคุ้มกัน ตอบโต้,

ทำให้เกิดอาการคล้ายเป็นไข้.

ท่ามกลางอาการเหล่านั้น คือ มีไข้สูง,

เหงื่อตก และ หนาวสั่น,

ชักกระตุก, ปวดหัว บางครั้งอาเจียนและท้องเสีย.

ถ้ามาลาเรียฝ่าเข้าไป สู่สมองได้

จะทำให้เกิดโคม่า อาการทางประสาท และถึงตาย

ตอนนี้ปรสิต เตรียมพร้อมอพยพ.

เมื่อใดที่ยุงตัวอื่นมากัด คนที่ติดเชื้อ

มันก็จะกลายเป็นพาหะ

วงจรก็เริ่มใหม่ได้อีก

ในปี 2015 ไวรัสซิก้า,

ซึ่งทำให้เกิดความผิดปกติของการเกิด ถ้าหากมันติดต่อสู่หญิงตั้งครรภ์,

ได้แพร่กระจายอย่างรวดเร็วทั่วโลก.

มันมียุงเป็นพาหะ เช่นกัน.

ยุงเป็นพาหะ นำโรค ติดต่อสู่มนุษย์ได้อย่างดี.

มันมีมา ประมาณสองร้อยล้านปี.

มีประชากรยุงเป็นล้านล้าน

และตัวหนึ่งสามารถ วางไข่ได้ 300 ฟองต่อครั้ง!

มันกำจัดได้ยากมากในทางปฏิบัติ

และเป็นพาหะนำโรคที่สมบูรณ์แบบ.

แต่วันนี้เรามี เทคโนโลยีใหม่

ที่สามารถทำให้เราชนะสงครามนี้ได้:

คริสเปอร์ (CRISPR)

เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ

ที่เรามีเครื่องมือ

ที่จะทำการเปลี่ยนแปลงในระดับทั้ง ทั้งสายพันธุ์,

เปลี่ยนแปลงข้อมูลทางพันธุกรรม.

ดังนั้นแทนที่จะโจมตี กลุ่มของยุง,

ทำไมเราไม่เปลี่ยนอะไรที่ทำการ ส่งต่อโรค?

โดยใช้พันธุวิศกรรม,

นักวิทยาศาสตร์ประสบความสำเร็จ ในการสร้างสายพันธุ์ยุง

ที่มีความต้านทาน

ต่อปรสิตมาลาเรีย

โดยเพิ่มยีนแอนติบอดี้ลงไป

ที่เจาะจงพลาสโมเเดียมเป็นเป้าหมาย

ยุงพวกนี้จะไม่แพร่มาลาเรีย.

แต่แค่เปลี่ยนข้อมูลทางพันธุกรรม

มันยังไม่พอ

มันอาจจะถูกส่งต่อสู่อีกรุ่น

โดยครึ่งหนึ่งในรุ่นลูกเท่านั้น

เพราะยีนส์ส่วนใหญ่มีสองเวอร์ชั่น (คู่ของสายดีเอ็นเอ)

ข้างในจีโนม ในฐานะที่ทำให้เกิดความหลากหลาย.

ดังนั้นหลังจากสองรุ่น

อย่างมากสุดครึ่งหนึ่งของรุ่น

จะมียีนที่ตัดต่อเข้าไปนี้

ในประชากรยุงพันล้านตัว

มันแทบไม่เกิดความแตกต่าง.

วิธีการทางพันธุวิศวกรรมที่เรียกว่า ยีนไดรฟ์ (บังคับยีน) ได้แก้ปัญหานี้.

มันบังคับยีนใหม่ให้เป็นลักษณะเด่น ในรุ่นถัดมา

เพื่อที่จะข่มยีนเก่าได้เกือบสมบูรณ์.

ต้องขอบคุณวิธีนี้,

99.5% ของยุงที่มียีนตัดแต่งพันธุกรรม

ลูกของมันจะมียีนนี้.

ถ้าเราเอาพวกนี้ไปปล่อยสู่ภายนอกได้มากพอ

เพื่อให้มันผสมพันธุ์กับยุงปกติ,

ยีนต้านมาลาเรียนี้จะแพร่กระจายอย่างรวดเร็ว.

โดยที่ยีนใหม่นี้จะกลายเป็น

คุณลักษณะถาวรในประชากรยุง,

พลาสโมเดียมคงสูญเสียบ้านของมัน.

นักวิทยาศาสตร์หวังว่าการเปลี่ยนแปลงจะเร็วพอ ที่จะไม่ทำให้มันผ่าเหล่าต้านทานได้ซะก่อน.

มาลาเรียจะได้หายวับไปกับตา.

เด็กๆ ครึ่งล้านถูกมันพรากชีวิตไปทุกๆ ปี;

ประมาณ 5 คน ได้ตายไป เมื่อวีดีโอนี้ได้เริ่มเล่น.

นักวิทยาศาสตร์บางคนบอกว่า เราควรใช้เทคโนโลยีเร็วๆ นี้เลย, อย่ารอช้า.

ยุงเองก็คงได้ผลพลอยได้จากเรื่องนี้.

มันไม่ได้อะไร จากการเป็นพาหะ.

สิ่งนี้อาจเป็นก้าวแรก.

มาลาเรียอาจเป็นแค่จุดเริ่มต้น.

ยุงชนิดอื่นเป็นพาหะนำโรคไข้เลือดออก และ ซิก้า.

เห็บนำเชื้อโรคไลม์.

แมลงวันบางชนิดนำเชื้อโรคเหงาหลับ.

หมัดนำเชื้อกาฬโรค.

เราอาจจะช่วยชีวิตได้หลายล้านคน

และป้องกันความทุกข์ทรมานได้ในวงกว้างอย่างไม่น่าเชื่อ.

แล้วทำไมเราไม่ได้ทำสิ่งเหล่านี้ซักที?

อย่างแรก, การตัดต่อแบบเทคนิคคริสเปอร์ (CRISPR) ยังพัฒนาได้ไม่ถึงสี่ปี.

จนกระทั่งเร็วๆ นี้, เราไม่สามารถทำสิ่งนี้ได้อย่างรวดเร็วและง่ายดาย.

และยังมีข้อกังวลอยู่.

มนุษย์เราไม่เคยเปลี่ยนแปลงอะไรในสเกลนี้มาก่อน

ในระดับรหัสพันธุกรรมของสิ่งวิชีวิต.

ถ้าเราทำ มันจะไม่มีการย้อนกลับได้อีก.

ดังนั้นต้องทำอย่างถูกต้อง

เพราะอาจมีผลที่ตามมาที่ไม่พึงประสงค์

ถ้าเราจะตัดต่อธรรมชาติ

ในกรณีเฉพาะอย่างมาลาเรีย

ความเสี่ยงต้องเป็นที่ยอมรับได้

เพราะการปรับแต่งพันธุกรรม มันไม่ได้เปลี่ยนทั้งจีโนม

แต่มันเปลี่ยนแค่บริเวณที่เจาะจงไว้.

กรณีแย่สุดก็แค่

มันอาจจะไม่สำเร็จ

หรือ ปรสิตมันปรับตัวได้

ยังคงมีข้อถกเถียงอยู่มาก

เทคโนโลยีที่ทรงพลังอย่าง ยีนไดรฟ์,

ต้องจัดการอย่างใส่ใจมาก.

แต่ถึงจุดหนึ่ง เราต้องถามตัวเอง:

“มันไร้จริยธรรมหรือไม่ ถ้าไม่ใช้เทคโนโลยี

เมื่อทุกๆ วันมีเด็กเสียชีวิตเป็นพัน?”

มนุษยชาติต้องจัดสินใจว่าจะดำเนินการยังไง ในอีกสองสามปีข้างหน้า.

การอภิปรายสาธารณะเป็นทางหนึ่งในกรณีนี้.

คุณคิดว่ายังไง?

วีดีโอนี้เกิดขึ้นได้จากการบริจาคใน Patreon.

ถ้าคุณอยากช่วยเราให้สามารถจัดทำวีดีโอแบบนี้ออกมาอีก

และได้สิ่งดีๆ กลับคืนไป

คุณสามารถทำได้ ที่นี่

เราจะขอบคุณมากเลยจริงๆ

ถ้าคุณอยากเรียนรู้เกี่ยวกับข้อหัวข้อทางพันธุวิศวกรรม,

เรามีวีดีโอเกี่ยวกับ CRISPR และ GMO.

และในกรณีนี้มันมีเนื้อหาทางชีววิทยาเยอะไป,

นี่คือ เพลลิสต์อย่างอื่น.

บรรยายไทยโดย ytuaeb sciencemath

คำบรรยายโดยชุมชน Amara.org