ทุกอย่างที่คุณต้องรู้เกี่ยวกับโลก | Kurzgesagt

🎁Amazon Prime 📖Kindle Unlimited 🎧Audible Plus 🎵Amazon Music Unlimited 🌿iHerb 💰Binance

วิดีโอ

สรุป

โลก บ้านของสิ่งมีชีวิตทุกชนิดที่เรารู้จัก

ในจักรวาลแห่งนี้

โลกมีอายุเป็น 1 ใน 3 ของจักรวาล

ยอมรับเถอะ

ว่าโลกเป็นสิ่งที่สวยงามเสียจริง

แกนกลางที่เป็นโลหะหนักบดละลายเข้าด้วยกัน

เปลือกที่บางกว่ามาก

ห่อหุ้มอยู่ในชั้นบางสุดที่เต็มไปด้วยอากาศสำหรับหายใจ

มหาสมุทรอันกว้างใหญ่

ที่ราบอันอุดมสมบูรณ์

ภูเขาที่งดงาม

แม่น้ำ ลำธาร มหาสมุทร และน้ำบาดาล

โคจรอยู่รอบพระอาทิตย์ที่ให้ความอบอุ่น

และพลังงานแก่พวกเรา

ว่าแต่ โลกเราเกิดขึ้นได้อย่างไร

แล้วมันประกอบไปด้วยอะไรบ้างล่ะ?

4.6 พันล้านปีก่อน

โลกกำเนิดขึ้นมาจากเศษของดาวฤกษ์ที่ดับแล้ว

รวมตัวกันเกิดเป็นกลุ่มก้อนของก๊าซสกปรก

บริเวณแก่นของก้อนของก๊าซได้ควบแน่นขึ้น

และเกิดเป็น “จานพอกพูนมวล”

อนุภาคเล็กๆเริ่มเกาะกลุ่มกัน

กลายเป็นวัตถุที่ใหญ่ขึ้น ใหญ่ขึ้น

จนเกิดเป็นก้อนวัตถุที่เราเรียกมันว่าดาวเคราะห์ในปัจจุบัน

กระบวนการนี้ใช้เวลา 10 - 20 ล้านปี

ซึ่งเราก็ยังไม่เข้าใจมันมากนัก

ในช่วงเวลาถัดมา ระบบสุริยะยังใหม่และวุ่นวายมาก

วัตถุขนาดใหญ่ใกล้เคียงกับขนาดของดาวอังคาร

ปะทะเข้ากับบ้านของเรา

การปะทะนั้นรุนแรงมาก

ถ้าวัตถุนั้นใหญ่กว่านี้

มันอาจจะทำลายโลกไปแล้วก็ได้

ชิ้นส่วนของโลกโดนชน และกระจัดกระจายโคจรรอบโลก

เกิดกลายเป็นพระจันทร์

ซึ่งเป็นวัตถุโคจรที่ใหญ่ที่สุดในระบบสุริยะ เมื่อเทียบกับดาวเคราะห์ที่มันโคจรอยู่

ในเวลานั้น โลกเปรียบเหมือนนรกที่ร้อนจัด

ถูกอุกกาบาตพุ่งเข้าใส่เป็นประจำ

เต็มไปด้วยทะเลลาวา

และชั้นบรรยากาศที่เป็นพิษ

แต่แล้วการเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่ก็เกิดขึ้น

โลกเย็นตัวลง

น้ำจากภายในโลก

เริ่มพุดสู่พื้นผิว ทำให้เกิดฝนตก

กลับกลายเป็นไออีกครั้ง และรวมตัวกันเป็นเมฆ

อุกกาบาตนับล้าน ได้นำน้ำเข้าสู่ดาวเคราะห์ของเรา

น้ำทั้งหมดบนโลกมีปริมาตรประมาณเท่านี้ เมื่อเปรียบเทียบกับโลก

ปัจจุบัน

พื้นผิวของโลกเป็นน้ำ 71%

และแผ่นดิน 29%

97.5% เป็นน้ำเค็ม

มีเพียง 2.5% เท่านั้นที่เป็นน้ำจืด

น้ำจืด 69% เป็นน้ำแข็งและหิมะ

30% เป็นน้ำบาดาล

และมีเพียง 1% เท่านั้นคือน้ำที่เหลืออยู่บนผิวโลก

ถึงแม้ว่าส่วนเล็กๆนี้ส่วนใหญ๋จะเป็นน้ำแข็ง

ส่วนนึงของมันคือแม่น้ำและทะเลสาบ

และส่วนที่เล็กกว่าคือน้ำที่อยู่ในสิ่งที่ชีวิต

ดีจริงๆที่โลกเราเย็นตัวลง

บริเวณพิ้นผิวเกิดเปลือกบางๆ

แต่ภายในที่เป็นหินแข็ง ยังคงหมุนอยู่

ทำให้เกิดการเคลื่นที่ของแผ่นด้านบน และทำให้แตกออกจากกัน

กระบวนการนี้เรียกว่า “การแปรสัณฐานแผ่นธรณีภาค”

ซึ่งก็ยังเกิดขึ้นอยู่ในปัจจุบัน

ในอนาคต ไว้เราจะทำวิดีโอเกี่ยวกับมันครับ

สำหรับตอนนี้

แค่เข้าใจว่าเปลือกโลกประกอบไปด้วย

แผ่นขนาดใหญ่ที่เคลื่อนที่ไปรอบๆ

เมื่อมันเจอกัน มันจะแตกตัวและนูนออกมาเป็นภูเขาใหญ่

หรือ

พุ่งลงไปด้านล่าง ลึกเข้าไปในโลก

เกิดเป็นร่องลึกก้นสมุทร

นั่นคือที่มาของบริเวณที่สูงที่สุดของโลก ยอดเขาเอเวอเรส

และบริเวณที่ลึกที่สุด ร่องลึกก้นสมุทรมาเรียนา ได้เกิดขึ้น

ในมุมมองของเรา

ภูเขาและร่องสมุทรช่างใหญ่โตอะไรเช่นนี้

แต่ถ้าเราลองตัดโลกตามแนวขวาง

เราจะเห็นว่าพวกมันเล็กเพียงใด

ส่วนที่พวกเรายืนอยู่ของส่วนเปลือกโลก

มีความหนาประมาณ 50 กิโลเมตร

แต่มันมีความหนาได้ตั้งแต่ 5 จนถึง 70 กิโลเมตร

แล้วก็

หลุมที่ลึกที่สุดที่ถูกเจาะโดยมนุษย์

ลึก 12.262 กิโลเมตร

ลึกลงไปใต้เปลือกโลก คือส่วนของแมนเทิล (เนื้อโลก)

ซึ่งเป็นเปลือกที่ประกอบไปด้วยหินกลุ่มซิลิกอน

มีความหนาราวๆ 2,900 กิโลเมตร

แมนเทิลแบ่งเป็นส่วนบน และส่วนล่าง

แมนเทิลส่วนบนมีการแบ่งขอบเขตไปอีก

ส่วนบนที่หนืดและรองรับเปลือกโลกด้านบน

เรียกว่า “ธรณีภาค”

นอกนั้นเราเรียกมันว่า “ฐานธรณีภาค”

ซึ่งเป็นส่วนที่เคลื่อนไหวน้อยกว่า และหนืดมากกว่า

ส่วนของแมนเทิลล่างนั้น ลงไปถึงแก่นโลกชั้นนอก

แก่นโลกชั้นนอกคือชั้นของเหล็กและนิกเกิลเหลว

มีความหนาประมาณ 2,266 กิโลเมตร

อุณหภูมิตั้งแต่ 4,000 °C

ไปจนถึง 5,700 °C

และตรงกลางของโลก คือแก่นโลกส่วนใน

เกือบจะเป็นของแข็งทั้งหมด

ลูกบอลขนาดใหญ่ของอัลลอยเหล็กและนิกเกิล

รัศมีราว 1,200 กิโลเมตร

ขนาดประมาณ 70% ของขนาดของพระจันทร์

และอุณหภูมิใกล้เคียงพื้นผิวของดวงอาทิตย์

มันขยายตัวช้าๆ

ด้วยอัตรา 1 มิลลิเมตรต่อปี

ลองมาจัดเรียงให้เห็นชัดๆ

ส่วนเล็กๆที่เกิดจากแมนเทิลเหลวที่ตกผลึก

คือที่ๆเราอาศัยอยู่

ถัดมาคือสนามแม่เหล็กโลก

ปรากฏการณ์ที่มองไม่เห็น

ที่เบี่ยงเบนอนุภาคพลังงานสูงจากดวงอาทิตย์และแหล่งอื่นๆ

ทำให้เกิดสภาพแวดล้อมที่เสถียร

และทำให้เกิดรังสีเล็กน้อยกับโลก

ว่าแต่ มันเกิดขึ้นได้ยังไง?

จริงๆแล้ว เรายังมีความรู้น้อยนิดเกี่ยวกับมัน

เรารู้ว่ามันต้องมีอะไรเกี่ยวข้องกับแก่นโลก

ในชั้นของเหล็กเหล่านี้

กระแสไฟฟ้าขนาดใหญ่เคลื่อนตัวในรูปแบบที่ซับซ้อน

ก่อให้เกิดสนามแม่เหล็ก

ซึ่งปรับสภาพให้ตัวเองเสถียรตามกฏของพลศาสตร์ไฟฟ้า

ระบบทั้งหมดนี้ถูกเรียกว่า “ไดนาโม”

แต่อย่าให้เราหลอกคุณว่าเราไขปริศนาออกแล้ว

พูดถึงข้อมูลที่น่าอัศจรรย์แล้ว

เรารู้อะไรบ้างเกี่ยวกับอากาศรอบตัวเราล่ะ?

โดยปริมาตร

อากาศแห้งมีองค์ประกอบเป็นไนโตรเจนเป็นส่วนใหญ่

รองลงมาคืออ๊อกซิเจน

อาร์กอน

คาร์บอน

ไอน้ำในบริมาณที่หลากหลาย

และก๊าซอื่นๆอีกเล็กน้อย

มนุษย์เราขึ้นอยู่กับส่วนที่อยู่ล่างสุดของชั้นบรรยากาศโลก

โทรโพสเฟียร์ - ส่วนที่เกิดสภาพอากาศ

หนาเฉลี่ยราว 12 กิโลเมตร

เหนือไปกว่านั้นคือสตราโทสเฟียร์

ชั้นที่โอโซนปกป้องเรา

จากแสงอันตรายที่มาจากดาวอาทิตย์

เหนือไปกว่านั้นคือเมโซสฟียร์ - ที่ๆเย็นที่สุดในโลก

ด้วยอุณหภูมิเฉลี่ยที่ -85 °C

ที่ความสูงราว 80 กิโลเมตรขึ้นไป คือชั้นของเทอร์มอสเฟียร์

ส่วนที่แบ่งโลกกับอวกาศไม่ได้มีขอบเขตที่ชัดเจนนัก

แต่มนุษย์ตัดสินใจว่าอวกาศเริ่มต้นตรงนี้

ที่ความสูง 100 กิโลเมตร โลกหยุดและอวกาศเริ่ม

แต่ชั้นบรรยากาศยังคงกว้างออกไปนิดหนึ่ง

ในส่วนนี้เราจะพบกับไอโอโนสเฟียร์

แสงเหนือ (ออโรร่า)

และสถานีอวกาศนานาชาติ (ISS)

และชั้นที่อยู่ไกลสุดคือเอกโซสเฟียร์

ไกลไปจนถึง 10,000 กิโลเมตร

มันรวมเข้ากับอวกาศ

จนถึงไม่มีชั้นบรรยากาศเหลืออยู่เลย

อะตอมและโมเลกุลในบริเวณนี้อยู่ห่างไกลกันมาก

จนมันสามารถเดินทางร่วมหลายร้อยกิโลเมตร

โดยที่ไม่ชนกันเลย

โอเค

มนุษย์เรา ในร่างแบบปัจจุบันนี้

เกิดขึ้นราว 200,000 ปีที่แล้ว

นั่นเป็นเพียง 0.004% บนหน้าประวัติศาสตร์ของโลกนี้

ไม่ค่อยจะนานเลย

แต่เราอยู่ที่นี้

อยู่บนชั้นบางๆ บนหินเปียกๆ เล็ก

เราเรียกหินนี้ว่า โลก

มันเป็นผลงานสร้างสรรค์ที่ยิ่งใหญ่ของจักรวาล

ผลลัพธ์ของกระบวนการสร้างและทำลายครั้งแล้ว ครั้งเล่า

ที่เกิดขึ้นทุกที่ ทุกเวลาในจักรวาล

ด้วยความช่วยเหลือของโอกาส

กฏของจักรวาล และเหตุการณ์สุ่มๆ

พวกเรา โชคดีจริงๆ นะ