โทรศัพท์ของคุณทำร้ายคุณได้หรือไม่? มลพิษจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า | Kurzgesagt

🎁Amazon Prime 📖Kindle Unlimited 🎧Audible Plus 🎵Amazon Music Unlimited 🌿iHerb 💰Binance

วิดีโอ

สรุป

ไฟฟ้าอยู่รอบตัวเราตลอดเวลา

ทำให้ชีวิตของเราง่ายขึ้น ปลอดภัยขึ้น สนุกขึ้น

และคนส่วนใหญ่ก็ไม่ค่อยจะสนใจสักเท่าไหร่

แต่เราใช้ไฟฟ้ามากไปไหม?

เป็นไปได้ไหมว่าสิ่งที่เป็นรากฐานของโลกยุคใหม่

กำลังฆ่าเราอย่างช้า ๆ

ก่อนที่เราจะลงลึกไปมากกว่านี้

เราต้องทำความเข้าใจก่อนว่า ไฟฟ้าคืออะไร

และมันส่งผลต่อเราอย่างไร

ไฟฟ้าเป็นการเคลื่อนที่ของประจุไฟฟ้า

การเคลื่อนที่นี้สร้างสนามไฟฟ้าและสนามแม่เหล็ก

ซึ่งกระจายตัวออกไปและนำพาพลังงานไปด้วย

เราเรียกปรากฏการณ์นี้ว่า “คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า/รังสีแม่เหล็กไฟฟ้า”

“รังสี” เป็นคำที่ทำให้คนกังวลก็จริง

แต่การแผ่รังสี เป็นเพียง “การปล่อยออกมา”

เช่น การปล่อยความร้อนจากหม้อน้ำในบ้าน

ในรูปของรังสีอินฟราเรด

แต่ละช่วงสเปกตรัมของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า

จะสัมพันธ์กับรังสีแต่ละชนิด

และหลาย ๆ ชนิดก็ไม่มีอันตรายอะไร

แต่บางชนิดก็เป็นอันตราย

รังสีที่มีความยาวคลื่นสั้นมาก

เช่นแสงยูวี เอกซ์เรย์ หรือรังสีแกมมา

มีพลังงานมากพอที่จะดึงอิเล็กตรอนออกจากอะตอม

ซึ่งสามารถทำให้เกิดการไหม้ หรือความเสียหายทางพันธุกรรมได้

นี่คือสิ่งที่คนทั่วไปคิดเมื่อพูดถึง “การแผ่รังสี”

ส่วนที่เหลือของสเปกตรัมประกอบไปด้วยคลื่น ที่ยาวกว่าจำนวนมาก

จากแสงที่มองเห็นได้ อินฟราเรด

ไมโครเวฟ ไปจนถึงคลื่นวิทยุ

นี่คือรังสีที่ถูกปล่อยออกมากจากเทคโนโลยีต่าง ๆ ของมนุษย์

โทรศัพท์มือถือ, เราเตอร์ wifi,

สายส่งไฟฟ้า, และเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน

รังสีเหล่านี้ไม่ได้ส่งผลต่อโมเลกุลในร่างกายของเรา

อย่างไรก็ตาม รังสีบางชนิดอาจกระตุ้นกล้ามเนื้อและประสาทของเราได้

และยังสามารถทำให้ขนบนร่างกายสั่นได้

ซึ่งหากมากกว่าจุดหนึ่งอาจทำให้เรารู้สึกจักจี้ได้

รังสีชนิดอื่นมีประโยชน์ในการทำอาหาร

ไมโครเวฟผลักโมเลกุลของน้ำในอาหารไปมา

ทำให้อาหารร้อน

มันเกิดขึ้นกับเราตลอดเวลา

เช่น ความรู้สึกอุ่นเวลาคุณอยู่ที่ชายหาด

เกิดขึ้นจากผิวของคุณที่ร้อนขึ้นจากการสัมผัสกับ

การแผ่รังสีอินฟราเรดจากดวงอาทิตย์

เราถูกล้อมรอบไปด้วย

คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าธรรมชาติที่ค่อนข้างปลอดภัยอยู่ตลอดเวลา

มันเป็นอย่างนั้นเสมอ

แต่ว่า ตั้งแต่การปฏิวัติอุตสาหกรรม

เราได้เพิ่มการแผ่รังสีมากมายเข้าไปในสิ่งแวดล้อม

คำถามที่ว่ามันอันตรายหรือไม่

เริ่มเป็นที่สนใจของคนทั่วไป เมื่อมีงานวิจัยในปีค.ศ. 1979 (พ.ศ. 2522)

บอกว่าการอยู่ใกล้กับสายส่งไฟฟ้า มีความเกี่ยวข้องกับโรคลูคีเมีย

แต่การวิจัยนี้ก็ถูกสรุปว่าไม่น่าเชื่อถืออย่างรวดเร็ว

เพราะไม่สามารถอธิบายความสัมพันธ์ที่ว่าได้

และก็ไม่เคยมีการยืนยันถึงสาเหตุโดยตรง

แต่เมื่อมีการเสนอขึ้นมาแล้ว ไอเดียนี้จึงยังคงอยู่

และการศึกษาเป็นพัน ๆ ครั้งเกี่ยวกับอันตรายในเรื่องนี้

บอกว่ามันยังเป็นอันตรายอย่างจริงจังอยู่

คนจำนวนมากอ้างว่าพวกเขามีสัมผัสไวต่อคลื่น

ที่แผ่ออกมาจากเครื่องใช้ไฟฟ้าและโทรศัพท์มือถือ

พวกเขารายงานถึงอาการต่าง ๆ เช่น ปวดหัว

คลื่นไส้ อาการทางผิวหนัง

ระคายเคืองในตา หรือความเหนื่อยล้า

แต่มันก็เป็นแค่ผลกระทบที่เกิดขึ้นระหว่างวัน

บางงานวิจัยค้นพบสิ่งที่น่ากังวลมากกว่านั้น

เช่น ความสัมพันธ์ระหว่างด้านของสมอง

ที่คนใช้คุยโทรศัพท์

กับการเกิดเนื้องอกในสมอง

คำถามที่วิทยาศาสตร์พยายามหาคำตอบ

ส่วนใหญ่ไม่ใช่เรื่องผลระยะสั้นของรังสี

เช่น เรารู้อยู่แล้วว่า

เอกซ์เรย์ทำให้เกิดความเสียหายต่อดีเอ็นเอในเซลล์ได้ในทันที

แต่ไม่ใช่กับคลื่นวิทยุ

คำถามจริง ๆ ก็คือ

การแผ่รังสีอย่างอ่อน ๆ ที่ล้อมรอบเราอยู่ตลอดเวลานั้น

เป็นอันตรายต่อเราในระยะยาว จากกลไกบางอย่างที่เรายังไม่รู้หรือไม่

การตอบคำถามนี้ยากกว่าที่เราคิดไว้มาก

มันมีหลักฐานชั้นต้น

รายงาน และคำแถลงเป็นพัน ๆ ชิ้น จากองค์กรมากมาย

ดังนั้น เราจึงต้องศึกษาอย่างหนักเพื่อวิดีโอนี้

คุณสามารถอ่านการค้นคว้าของเราได้ในคำอธิบายวิดีโอนี้

สิ่งที่เราค้นพบคือ การถกเถียงกันในเรื่องนี้เป็นตัวอย่างที่ดี

ว่าเราควรหรือไม่ควรจะสื่อสารด้านวิทยาศาสตร์แบบไหน

งานวิจัยที่ถูกอ้างอิงถึงมากหลายงาน ซึ่งทำให้เกิดความหวาดกลัวการแผ่รังสีนั้น

ก็มีข้อโต้แย้งอยู่มาก

ยกตัวอย่างเช่น

งานวิจัยในกลุ่มประชากร ที่ทำขึ้นด้วยแบบสอบถามและการตอบคำถาม

ความหมายของมันก็เช่น

การถามผู้ป่วยโรคเนื้องอกในสมองว่า พวกเขาใช้โทรศัพท์มือถือมากแค่ไหนในช่วงหลายปีที่ผ่านมา

ปัญหาก็คือคนเชื่อถือไม่ได้

เรามักจะจำผิด หรือถูกชักจูงได้ง่าย

นอกจากนี้

การวิจัยหรือการรายงานข่าวอาจตั้งใจเลือกเฉพาะผลที่ต้องการซึ่งสอดคล้องกับความคิดเห็นของตัวเอง

หรือทำให้พาดหัวข่าวน่าสนใจได้

อย่างเช่น

งานวิจัยที่ศึกษาผลของการแผ่รังสีจากโทรศัพท์มือถือต่อ การเกิดมะเร็งในหนูพันธุ์เล็กและพันธุ์ใหญ่

ผลลัพธ์พบว่าน่าจะมีความเกี่ยวข้องกัน

แต่เฉพาะในหนูพันธุ์ใหญ่เพศผู้เท่านั้น

และไม่เกิดในหนูพันธุ์เล็กเลย

แต่การรายงานข่าวกลับบอกว่างานวิจัยนี้พิสูจน์ว่า

โทรศัพท์มือถือทำให้เกิดมะเร็ง

น่าเสียดายที่นี่เป็นสิ่งที่จะเกิดขึ้นกับงานวิจัย ที่มีผลลัพธ์ทั้งด้านบวกและลบผสมกัน

ในอีกแง่มุมหนึ่ง องค์การอนามัยโลกได้จัดให้สนามคลื่นวิทยุ

เป็นสิ่งที่อาจส่งผลให้เกิดมะเร็ง

แต่ความหมายจริง ๆ ของการจัดนี้

ก็คือมันมีอะไรบางอย่างที่บอกว่าอาจจะก่อให้เกิดมะเร็งได้

แต่เราพิสูจน์ไม่ได้ และเราจะจับตาดูไว้

ดังนั้น ถ้าเราลองมองในภาพรวมดู มันเป็นอย่างไรล่ะ?

ในภาพรวม

ไม่มีหลักฐานที่แน่นอนจากการศึกษาในมนุษย์ว่า

การแผ่คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าในปรืมาณที่ต่ำกว่ากำหนดที่รับได้นั้นส่งผลต่อสุขภาพ

มันมีความสัมพันธ์ทางสถิติอยู่บ้าง

แต่ส่วนใหญ่แล้วจะมีความเกี่ยวข้องน้อยหรือผลลัพธ์ไม่แน่นอน

ถ้ามันมีความสัมพันธ์อะไรจริง ๆ

จากข้อมูลที่เรามี ตอนนี้เราก็น่าจะรู้แล้ว

ดังนั้น จากข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ในปัจจุบัน

คุณจำเป็นต้องกังวลกับการแผ่รังสีจากคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ หรือทีวีไหม?

คำตอบคือไม่

คุณไม่ควรจะกังวล

แล้วคนที่อ้างว่าการแผ่รังสีเป็นอันตรายต่อพวกเขาล่ะ?

การวิจัยพบว่าพวกเขาอาจกำลังเจอกับสิ่งที่เรียกว่า Nocebo Effect

ถ้าคุณมีอาการปวดหัว แล้วรู้สึกดีขึ้นทันทีที่ปิดคอมพิวเตอร์

คุณอาจจะเห็นความสัมพันธ์ระหว่างสองเรื่องนี้

เมื่อคุณเริ่มสงสัย ความคิดที่ว่าการแผ่รังสีนี้กำลังเป็นภัยต่อคุณ

ก็อาจจะกลายเป็นภัยซะเอง

มันง่ายที่จะดูแคลนคนเหล่านี้

พวกเขาคิดว่าไม่มีใครสนใจเรื่องนี้อย่างจริงจัง

ซึ่งทำให้สถานการณ์ของพวกเขาแย่ลงไปอีก

พวกเขาควรจะได้รับการสนับสนุน

แต่มันจำเป็นที่จะต้องรู้ว่า ในปัจจุบันนี้

เรายังไม่มีหลักฐานที่ชัดเจนว่าไฟฟ้าที่อยู่ในระดับปลอดภัยนั้นส่งผลเสียต่อมนุษย์

ในโลกของเราที่ความสนใจมีอยู่อย่างจำกัด (Attention Economy) นั้น

การพูดถึงอันตรายที่ยังไม่ได้รับการพิสูจน์ ทำให้เรามองข้ามสิ่งที่เป็นอันตรายต่อเราจริง ๆ

ตัวอย่างหนึ่งก็คือ

มลภาวะทางอากาศทำให้ผู้คนตายก่อนวัยอันควร กว่า 4.2 ล้านคนทุกปี

และเป็นสิ่งที่มีผลกระทบแน่นอนแล้วในตอนนี้

อย่างไรก็ตาม เพื่อให้ผู้คนรู้สึกปลอดภัยและเพื่อให้แน่ใจ

จึงได้มีการศึกษาระยะยาวหลายเรื่องดำเนินอยู่ในปัจจุบัน

เช่น การวิจัย Cosmos ซึ่งค้นหาผลกระทบต่อสุขภาพที่เกิดขึ้นจากการใช้โทรศัพท์มือถือ

ด้วยการวัดความถี่และระยะเวลาการใช้โทรศัพท์อย่างแม่นยำ

แต่ในขณะที่เรากำลังรอผลของการศึกษาระยะยาวเหล่านี้

มันก็ยังมีปัญหาอื่นที่น่ากังวลกว่าให้เราโฟกัส