วิดีโอ
สรุป
ลองจินตนาการว่าเครื่องปิ้งขนมปังของคุณ คอยคาดเดาว่าคุณจะชอบขนมปังปิ้งแบบไหน
ระหว่างวันมันคอยค้น หาขนมปังปิ้งชนิดใหม่ๆ ที่น่าสนใจบนอินเทอร์เน็ต
อาจจะอยากถามไถ่ทุกข์สุข หรือชวนคุยว่าความสำเร็จใหม่ๆ ในวงการเทคโนโลยีการปิ้งขนมปัง
ถึงขนาดไหนที่มันจะกลายเป็นคนคนหนึ่ง
ถึงขนาดไหนที่คุณจะถามตัวเองว่า เครื่องปิ้งขนมปังนี้มีความรู้สึกด้วยเหรอ?
ถ้ามีความรู้สึก การถอดปลั๊กจะเท่ากับฆ่ามันไหม?
คุณจะยัง “เป็นเจ้าของ” มันได้ไหม จะมีวันที่เราต้องถูกบังคับให้ยอมรับ “สิทธิเครื่องจักร” หรือไม่
เอไอ(AI:ความฉลาดเทียม)อยู่รอบๆตัวคุณ
มันคอยอำนวยความสะดวกต่างๆ เช่น เติมขนมให้เต็มสต็อก
มันคอยหาโฆษณาดีๆให้กับคุณ และคุณอาจจะได้อ่านเรื่องใหม่ๆที่ถูกเขียนโดยเครื่องจักรก็ได้
ในตอนนี้เราอาจจะรู้จักแค่ ‘สิริ’ ที่คอยสร้างเสียงหัวเราะให้กับเราด้วยอารมณ์เทียมที่มันสร้างขึ้นมา
แต่ว่าในอนาคตเราอาจจะต้องคอยรับมือระหว่างเส้นบางๆ
ที่คั่นอยู่ระหว่างคำว่า ความเป็นจริง และ มนุษยชาติจำลอง
มีเครื่องจักรเครื่องไหนที่มีอยู่บนโลกมีสิทธิไหม?
ส่วนมากคือ ยังไม่มี แต่ถ้ามันมีเราอาจจะยังไม่เตรียมพร้อมที่จะรับมัน
หลักปรัชญาของสิทธิ ส่วนมากมีไว้เพื่อคอยรับมือหากมี เอไอ ขึ้นมา
สิทธิส่วนมากมักเกี่ยวข้องกับมนุษย์และสัตว์ โดยมีหลัก “ความรู้สึกตัว” เข้ามาเกี่ยวข้อง
แต่โชคร้าย ที่ยังไม่มีใครรู้ว่า “ความรู้สึกตัว” คืออะไร
บางคนคิดว่า มันคือสารที่ไม่มีจริงบ้าง,สสารต่างๆบ้าง
แต่ถึงแม้ว่ามันจะมีความหมาย เราก็ยังมีความรู้เพียงแค่เบื้องต้น เกี่ยวกับ ‘ความรู้สึกตัว’ เพราะเราเคยพบเจอมัน
เรารู้สึกถึงตัวเราเอง,รู้สึกถึงสิ่งที่อยู่รอบๆตัวเรา และเราก็รู้ว่า ‘ความไม่รู้สึกตัว’ เป็นอย่างไร
นักประสาทวิทยาบางคนเชื่อว่า ระบบที่มีความสามารถสูงจะสามารถทำให้รู้สึกตัวได้
ถ้างั้น เครื่องปิ้งขนมปังของคุณมีความสามารถพอ มันอาจจะรู้สึกตัวเหมือนกับสิ่งมีชีวิตได้
และถ้าเป็นอย่างนั้น มันจะมีสิทธิไหม?
มันก็คงไม่,ตราบใดที่เรายังให้ความหมายของคำว่า สิทธิ แก่พวกมันไม่ได้
สิ่งมีชีวิตมีสิทธิได้เพราะสิ่งมีชีวิตมีความรู้สึกและรับรู้ความเจ็บปวดได้
นั่นหมายความว่า นอกจากจะรับรู้ความรู้สึกได้แล้วยังต้องคอยระวังอีกด้วย
หุ่นยนต์ไม่มีความรู้สึก และพวกมันจะไม่รู้สึกอะไร จนกว่าเราจะเขียนโปรแกรมให้มัน
ไร้ซึ่งความรู้สึกเจ็บปวดและผ่อนคลาย คำว่า สิทธิ ก็ไร้ความหมาย
สิทธิมนุษย์ของเราถูกผูกมัดกับวิถีชีวิตเรา อย่างเช่น เราไม่ชอบความเจ็บปวด
เพราะสมองของเราถูกพัฒนาให้เรามีชีวิตรอด
เพื่อให้เราหยุดแตะของร้อนหรือวิ่งหนีจากคนที่จะทำร้ายเรา
ดังนั้น เราจึงมีสิทธิขึ้นมาเพื่อป้องกันเราจากสิ่งที่จะทำร้ายเรา
แม้กระทั่งสิทธิที่เป็นนามธรรมอย่าง ‘เสรีภาพ’ ก็ถูกฝังเอาไว้ในสมองของเรา
เพื่อให้รับรู้ว่า อะไรเหมาะสม และอะไรไม่เหมาะสม
แล้วเครื่องปิ้งขนมปังขยับได้ไหม? ชอบที่จะถูกขังไว้ในกรงหรือเปล่า?
กลัวที่จะถูกแยกชิ้นส่วนไหม? ถ้ามันไม่มีความรู้สึกที่กลัวที่จะเสียชีวิต
กลัวที่จะถูกนินทาหรือเปล่า?ถ้ามันไม่มีความรู้สึก
แล้วถ้าเราทำให้มันรับรู้ความรู้สึกและมีอารมณ์ได้
แบบที่ยุติธรรมอยู่เหนืออยุติธรรม ความรู้สึกผ่อนคลายอยู่เหนือความเจ็บปวด จะดีไหม?
แล้วที่พูดมาเมื่อสักครู่จะทำให้มันเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ได้ไหม?
ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีได้กล่าวไว้ว่า การพัฒนาเทคโนโลยี แบบก้าวการโดด อาจจะเกิดขึ้น
เมื่อ ‘เอไอ’ สามารถเรียนรู้และสร้างเอไอในรูปแบบของมันเอง
ซึ่งฉลาดมากขึ้นกว่าเดิม
เมื่อถึงจุดนี้ ความคิดที่ว่าหุ่นยนต์ที่เราสร้างจะอยู่ใต้ความควบคุมเรา ดูจะเป็นไปไม่ได้
แล้วจะเป็นอย่างไรถ้า เอไอ รู้ว่ามันไม่จำเป็นที่ตัวมันจะต้องรู้สึกเจ็บปวด
เหมือนกับที่นักชีววิทยาที่พบว่ามันก็ไม่จำเป็นที่สิ่งมีชีวิตต้องรู้สึกเจ็บปวด?
แล้วหุ่นยนต์จำเป็นต้องมี ‘สิทธิ’ หรือไม่?
ไม่แน่นอน,แต่เอาเป็นว่า เราควรห่วงเรื่องสิทธิของหุ่นยนต์น้อยลง
และมาห่วงเรื่องแย่ๆที่เรากำลังจะทำกับมันดีกว่า
เอกลักษณ์ของมนุษย์เราทุกคน อยู่บนพื้นฐาน ความแตกต่างของลัทธิมนุษยชน
ว่าเราเป็นเหมือนเกล็ดหิมะที่ดูต่าง ซึ่งได้ชื่อว่า’ปกครองโลก’
มนุษย์มีประวัติศาสตร์มายาวนานของการไม่ยอมรับว่า สิ่งมีชีวิตอื่นจะทนความเจ็บได้เท่า
ในทางวิทยาศาสตร์วิวัฒนาการ René Descartes ได้กล่าวว่า สัตว์ก็อาจจะเป็นหุ่นยนต์ได้ หากเราอยากให้มันเป็น
ดังนั้น การเตะหุ่นยนต์กระต่ายอาจจะเหมือนกันกับการทุบตีตุ๊กตากระต่ายก็ได้
และอาชญากรรมอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์ก็มักจะถูกตัดสินโดยเหยื่อของมันเอง
โดยส่วนมากเหยื่อมักจะเป็นสัตว์มากกว่าามนุษย์เสียเอง
แม้กระทั่งปัญหาที่เรามักจะมองข้ามไปอย่าง “สิทธิเครื่องจักรและหุ่นยนต์”
ถ้าเราบังคับขู่เข็ญให้หุ่นยนต์ทำตามคำสั่งของเรา
ศักยภาพทางเศรษฐกิจก็มีไม่จำกัด
เราเคยทำกันมาแล้วนะ
ความรุนแรงเคยถูกใช้บังคับให้มนุษย์ทำในสิ่งที่มนุษย์ต้องการ
และเราก็ไม่เคยให้ความเป็นธรรมอย่างเหมาะสมเลย
เจ้าของทาสแย้งว่า ทาสมักเป็นประโยชน์กับตัวทาสเอง เขาได้หาที่หลับนอนและสอนให้เรียนรู้คริสต์ศาสนา
บุรุษส่วนใหญ่ที่ค้านการให้สตรีมีสิทธิเลือกตั้งได้ แย้งว่า เพื่อ ประโยน์แก่สตรีเอง ไม่อยากทิ้งการตัดสินใจยากๆ มาให้ผู้หญิง
ชาวนาแย้งว่าการดูแลสัตว์เป็นไปเพื่อให้ความเป็นธรรมกับชีวิต พวกมันก่อนตายและเพื่อเป็นอาหารของเรา
ถ้าหุ่นยนต์รับรู้ถึงเรื่องพวกนี้ได้ มันอาจจะย้อนแย้งกลับมาว่า “เอาสิทธิที่เป็นธรรมให้พวกฉันเดี๋ยวนี้นะ”
โดยเฉพาะกับคนที่ได้ผลประโยชน์กำไร จากพวกมัน
‘เอไอ’ ทำให้มีคำถามต่างๆที่เกี่ยวกับขอบเขตของปรัชญา
ถ้าหุ่นยนต์เกิดมีความรู้สึกและมีสิทธิขึ้นมา
มันอาจจะตั้งคำถามขึ้นมาเช่น “อะไรทำให้เราเป็นมนุษย์?” หรือ “อะไรทำให้เรามีสิทธิเหมือนกับมนุษย์?”
ไม่ว่าเราจะคิดอย่างไร คำตอบจะต้องมีในอนาคตอันใกล้นี้
แล้วเราจะทำอะไรหากหุ่นยนต์เริ่มหาสิทธิ และความถูกต้องให้ตัวมันเอง?
และอะไรที่สอนพวกเราได้บ้าง เรื่องหุ่นยนต์เรียกร้องสิทธิ?
เพื่อนของเราที่ Wisecrack ทำวิดิโอเกี่ยวกับ เรื่องนี้โดยใช้หลักปรัชญาของโลกตะวันตก
Wisecrack สามารถอธิบายถึงวัฒนธรรมสากล โดยใช้หลักปรัชญาได้อย่างดีเยี่ยม
คลิกที่นี่เพื่อดูช่องและวิดิโอและติดตามช่องของเขา
คำบรรยายไทยโดย : Watchara Sararath ร่วมตรวจสอบคำบรรยายไทยโดย : ytuaeb sciencemath