เราสามารถสร้างฐานบนดวงจันทร์ได้วันนี้ - อาณาณิคมในอวกาศ 1 | Kurzgesagt

🎁Amazon Prime 📖Kindle Unlimited 🎧Audible Plus 🎵Amazon Music Unlimited 🌿iHerb 💰Binance

วิดีโอ

สรุป

มนุษย์ใฝ่ฝันถึงการบินออกไปนอกโลก และท่องจักรวาล

แต่พวกเราเกิดเร็วเกินกว่า จะได้มีส่วนร่วมทำเช่นนั้น

หรือว่า.. เราไปได้?

ความเป็นจริงนั้น

ความฝันของเราสามารถเริ่มต้นได้ในวันนี้ โดยการสร้างฐานบนดวงจันทร์

เทคโนโลยีปัจจุบันเราสามารถทำได้

นาซ่าและบริษัทเอกชนต่างๆประมาณการไว้้ว่า

ต้องใช้เงิน 2-4 หมื่นล้านดอลลาร์ และเวลาประมาณ 10 ปี

ซึ่งก็ราคาพอๆ กันกับงบสร้างสถานีอวกาศนานาชาติ

หรืองบประมาณเกินดุลของประเทศเยอรมนีในปี 2017

ซึ่งเป็นการลงทุนที่ไม่มากเลย

ผลตอบแทนที่ได้นั้นประเมินค่ามิได้

เพราะดวงจันทร์นั้นมีทรัพยากรให้ใช้อย่างไม่จำกัด

และเป็นพื้นที่อิสระให้สร้างสรรค์เทคโนโลยีต่างๆมากมาย

มันจะจุดฉนวนการแข่งขันทางอวกาศอีกครั้ง

และวางรากฐานให้พวกเราสามารถขยายอาณาเขต กว้างไกลทั้งในและนอกระบบสุริยะ

มันจะเป็นการสร้างเทคโนโลยีใหม่มากมาย เพื่อประโยชน์แก่คนบนโลก

ซึ่งเราทุกคนเป็นหนึ่งในนั้น

แต่ ทำไมเราไม่ทำมันเสียล่ะ?

ช่างน่าเสียดาย เพราะการดึงให้รัฐบาลมาลงทุนระยะยาวกับอนาคตของมนุษยชาตินั้นยากมาก

แต่ลองคิดดูสิ ว่าถ้าเราทำได้

เราจะสร้างฐานบนดวงจันทร์อย่างไร ในวันนี้

ตลอดกาลเวลาที่ผ่านมา

การตั้งอาณานิคมถูกแบ่งเป็นช่วงๆ

เช่น ในช่วงแรกของการบุกเบิกทวีปใหม่

ราชวงศ์ในยุโรปให้งบ ในการออกสำรวจและอ้างสิทธิ์ครองแผ่นดิน

แค่ปักธงและตั้งค่ายไม่นาน ก็กลับไป

ในช่วงที่สอง มีโครงการตั้งถิ่นฐานหมู่บ้านเล็กๆ

แต่ยังต้องพึ่งพาเสบียงและสิ่งของจำเป็นจากประเทศแม่

บางแห่งล้มเหลว แต่บางแห่งที่รอดมาได้ ก็จะกลายเป็นถิ่นฐานถาวร

เมื่อเข้าสู่ช่วงที่สาม ชุมชน นั้นถึงจะนับเป็นอาณานิคมที่แท้จริง

ที่แรงงานหลากหลายอาชีพจะอพยพมาได้

สร้างความมั่งคั่งและโอกาสใหม่ ๆ ให้กับตนเองและครอบครัว

ส่งทรัพย์มหาศาล กลับไปยังประเทศบ้านเกิด

ถ้าเราตั้งอาณานิคมบนดวงจันทร์

เราก็ต้องผ่านสามช่วงนี้เช่นกัน

แค่ครั้งนี้ เราไม่ต้องสังเวยชีวิตบริสุทธิ์นับล้าน

ดวงจันทร์ไม่ใช่สถานที่ ที่เหมาะแก่สิ่งมีชีวิตซักเท่าไหร่

หนึ่งวันของดวงจันทร์เท่ากับ 29 วันของโลก

อุณหภูมิต่างกันราว 300 องศาเซลเซียส ในด้านที่โดนแสงกับอับแสง

ไม่มีชั้นบรรยากาศที่จะปกป้องเราจากอุกกาบาต น้อยใหญ่ รวมถึงรังสีจากอวกาศต่างๆ

แย่กว่านั้น พื้นผิวดวงจันทร์เต็มไปด้วยฝุ่น ที่มีแต่จะก่อปัญหา

ดวงจันทร์นั้นกันดาร

แต่มนุษย์เราอดทนเก่ง

ในช่วงแรกของการตั้งอาณานิคมบนดวงจันทร์

นักสำรวจของพวกเราได้พิสูจน์แล้วว่า

เราสามารถไปถึงโลกใหม่ใบนี้ได้

ช่วงระยะนี้เกิดขึ้นเมื่อ 60 ปีที่แล้ว ด้วยภารกิจยานอพอลโล

นับแต่วันนั้น ยานอวกาศสำรวจดวงจันทร์ ได้ทำแผนที่ดวงจันทร์ไว้

ขณะที่ยานสำรวจอย่างอวี้ทู่ของจีน ได้ศึกษาองค์ประกอบของผิวดวงจันทร์

เสาะหาแหล่งน้ำ น้ำแข็ง และโลหะ

ช่วงระยะแรกนั้นถือว่าสำเร็จแล้ว

และเราก็รู้สิ่งที่จำเป็นในการเข้าสู่ช่วงที่สอง

ในระยะที่สอง

นักบินอวกาศจะสร้างฐานบนดวงจันทร์แห่งแรกขึ้น ซึ่งเป็นไปได้ในขณะนี้

ฐานดวงจันทร์ขนาดเล็กแห่งแรก สามารถสร้างเสร็จได้ในสิบปี

ชาติแรกที่สร้างฐานนี้สำเร็จ

จะเทียบได้กับกับชาติแรกที่สร้างถิ่นฐาน ที่ทวีปใหม่เมื่อ 500 ปีก่อน

การส่งจรวดไปยังดวงจันทร์นั้นใช้เงินมหาศาล

ดังนั้นเราคงจะส่งอะไรไปมากไม่ได้

ฐานนั้นจะต้องเบา

รองรับผู้อยู่อาศัยได้ไม่เกิน 12 คน

และตั้งในที่หลบภัยตามธรรมชาติ

ตัวเลือกที่เป็นไปได้ เช่น ถ้ำ, ปล่องลาวาใต้ดิน

หรือหลุมอุกกาบาตใกล้ขั้วดวงจันทร์ ที่หนึ่งวันกินเวลากว่า 6 เดือน

นักบินอวกาศเหล่านี้จะอาศัยอยู่ไม่นาน

จะมีผู้อาศัยในฐานแค่ระหว่างปฏิบัติภารกิจ

เนื่องจากแผงเซลล์สุริยะไม่สามารถสร้าง ไฟฟ้าระหว่างคืนดวงจันทร์อันยาวนานได้

แต่พวกเขาจะวางรากฐานให้มนุษย์สามารถอยู่อย่างถาวรได้

ผู้อาศัยชุดแรกจะประกอบไปด้วย นักวิทยาศาสตร์และวิศวกร

ที่จะศึกษาองค์ประกอบของดวงจันทร์

และทำการทดลองที่จะหาวิธี ใช้ประโยชน์วัสดุที่พบได้บนดวงจันทร์

เช่นการเปลี่ยนน้ำแข็งบนดวงจันทร์ ให้เป็นน้ำที่มนุษย์ใช้ได้

น้ำไม่ได้มีประโยชน์แค่ใช้ดื่มเท่านั้น

น้ำยังสามารถนำไปปลูกพืชเพื่อเป็นแหล่งอาหาร

สร้างเซลล์เชื้อเพลิงไฮโดรเจนสำหรับ เก็บและใช้ในค่ำคืนอันยาวนาน

ช่วยนักบินอวกาศให้อยู่ได้นานยิ่งขึ้น

และที่สำคัญที่สุด

เราสามารถแยกน้ำได้ไฮโดรเจนกับออกซิเจน

ซึ่งก็คือเชื้อเพลิงจรวด!

ด้วยการเก็บน้ำจากดวงจันทร์ และการส่งขึ้นวงโคจร

ฐานดวงจันทร์จะกลายเป็นแหล่งเติมเสบียงแก่สถานีวงโคจร

ที่สามารถเติมเชื้อเพลิงสำหรับ การเดินทางไปสู่ดาวอังคารและระบบสุริยะรอบนอก

เมื่อเทียบกับโลกแล้ว การส่งของจากดวงจันทร์ ขึ้นวงโคจรนั้นทำได้ง่ายและถูกกว่ามาก

การตั้งอาณานิคมบนดาวอังคาร อาจเริ่มต้นจากฐานบนดวงจันทร์

แต่นี่ยังไม่ใช่การตั้งอาณานิคมที่แท้จริง

ฐานจะถูกทิ้งร้างหากขาดการสนับสนุน

หากเราต้องการให้ฐานเติบโต เข้าสู่ช่วงที่สามของการตั้งอาณานิคม

มันต้องพึ่งพาตนเองได้ โดยการส่งออกสินค้าไปยังโลก

จากนี้ นักธุรกิจเอกชนต่างมาให้บริการบนดวงจันทร์ เพื่อทำกำไรจากทรัพยากรที่นั่น

นอกจากเชื้อเพลิงจรวดราคาถูกที่ผลิตได้ที่นี้

ยังมีอีกหลายสิ่งที่สามารถทำกำไรได้

พวกเขาสามารถสกัดโลหะมีค่าต่างๆ

ซึ่งพบเหลือเฟือในหลุมอุกกาบาต

หรือจากวัตถุดิบอื่นๆ ในผงตะกอนบนผิวดวงจันทร์

ความเป็นไปได้สูงอย่างนึงคือ การขุดเจาะหาฮีเลียม-3

ไอโซโทปที่อาจเอามาใช้ ในเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ฟิวชันได้ในอนาคต

ซึ่งโครงการสำรวจอวกาศของจีน สนใจอยู่ในขณะนี้

ชาวอาณานิคมในอนาคต อาจส่งออกฮีเลียม-3 กลับมายังโลก

ทำให้เรามีพลังงานฟิวชันที่สะอาดและราคาถูกใช้

อาจมีการดึงดาวเคราะห์น้อย เข้าสู่วงโคจรดวงจันทร์เพื่อขุดเอาแร่

เมื่อมีการส่งออกเชิงการค้าไปยังโลก

อาณานิคมก็เข้าสู่ระยะที่สามอย่างเต็มตัว

พึ่งพาตนเองได้และมีผลกระกอบการทางเศรษฐกิจ

ถ้าฐานของเรายังเจริญเติบโตต่อไป เราจะใช้วัสดุบนดวงจันทร์ในการก่อสร้าง

โชคดีที่ดินดวงจันทร์มีส่วนประกอบ เหมาะสมสำหรับผสมคอนกรีต

หุ่นยนต์รถขุดเจาะสามารถร่อนฝุ่นดวงจันทร์ เพื่อรวบรวมโมเลกุลอินทรีย์

และนำไปใช้สร้างสิ่งก่อสร้างขนาดใหญ่

ที่ใหญ่เกินกว่าจะถูกขนมาจากโลก

เครื่องพิมพ์สามมิติที่ก้าวหน้า

ก็สามารถผลิตของที่จำเป็นแทบทุกอย่างได้

บอกได้ยาก ว่าอาณานิคมจะพึ่งพาตนเองได้เมื่อไหร่

เพราะมันเติบโตอย่างค่อยเป็นค่อยไป

จากการทดลองจะกลายเป็นอุตสาหกรรม

ประชากรจะค่อยๆ เพิ่มขึ้นจนถึงหลักร้อย

จนสามารถรองรับได้มากกว่าเพียงนักวิทยาศาสตร์

จะมีวิศวกร นักบิน ผู้รับเหมาที่เป็นตัวแทน ของประเทศและบริษัทมาอาศัยด้วย

ในที่สุด คนสองคนจะสร้างประวัติศาสตร์หน้าใหม่

ไม่ใช่ด้านวิทยาศาสตร์ แต่เป็นเรื่องทางสังคม

พวกเขาจะมีลูกนอกโลก

คนแรกในประวัติศาสตร์

เมื่อใดที่เด็กคนนั้นลืมตาดูโลก เมื่อนั้นเมล็ดพันธุ์แห่งอาณานิคม

จะได้ตั้งหยั่งรากที่จะไม่มีวันหวนคืน

มันจะหมายความว่าดวงจันทร์จะไม่ใช่แค่สถานที่ ให้นักวิทยาศาสตร์หรือวิศวกรมาทำงาน

มันเป็นสถานที่ให้คนได้มีชีวิต มีครอบครัว

เมื่อการเปลี่ยนแปลงนี้เกิดขึ้น อาณานิคมจะเติบโตอย่างรวดเร็ว

จะมีการสร้างที่อยู่อาศัย โรงเรียน ฟาร์ม และสิ่งอื่นๆ เพื่อเลี้ยงดูประชากรที่มากขึ้น

ยิ่งอาณานิคมนั้นขยาย ยิ่งมีนวัตกรรมใหม่ๆ มาหล่อเลี้ยงมันมากขึ้น

อาจพัฒนาพืชผลที่ใช้คาร์บอนไดออกไซด์ อย่างมีประสิทธิภาพ

หรือใช้น้ำน้อยมากในการเจริญเติบโต

พวกเขาอาจหาวิธีที่รีไซเคิลและ นำของเสียมาใช้ใหม่ได้ 100%

ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่เลอค่าสำหรับโลก

พวกเขาอาจสร้างลิฟต์อวกาศแห่งแรก ของระบบสุริยะที่นี่

ด้วยลิฟต์อวกาศ เราจะสามารถขน ยานอวกาศ นักบินอวกาศ และวัตถุดิบต่างๆ

จากวงโคจรดวงจันทร์ ไปกลับโดยไม่ต้องใช้จรวดเลย

ดวงจันทร์อาจกลายเป็นศูนย์รวมทางเศรษฐกิจ ในระดับที่ยากเกินจะจินตนาการได้ในขณะนี้

ตอนนี้ยังบอกได้ยากว่า ใครเป็นเจ้าของอาณานิคม

มนุษย์คนแรกที่เกิดบนดวงจันทร์ อาจต้องใช้สัญชาติตามพ่อแม่

หรือคนรุ่นใหม่จะหลอมรวมกัน เกิดเป็นสังคมอันใหม่บนดวงจันทร์

และเมื่อสนธิสัญญาที่ห้ามไม่ให้ชาติใด ถือกรรมสิทธิ์ที่ดินดวงจันทร์ถูกร่างขึ้นมาใหม่

ชาวอาณานิคมจะมีสิทธิมีเสียงอะไรรึเปล่า?

พวกเขาจะประกาศอิสรภาพจากโลกไหม

ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้น

ดวงจันทร์เป็นสถานที่ที่เหมาะสำหรับการ เรียนรู้เกี่ยวกับการตั้งอาณานิคมในระบบสุริยะ

เป็นโครงการที่สามารถหลอมรวมมนุษยชาติ

และเป็นหนทางเดียวที่สามารถการันตี การอยู่รอดของสายพันธุ์เราได้

หากเกิดหายนะบางอย่างขึ้นบนโลก

และหากเราต้องการจะตั้งอาณานิคม ทั่วกาแล็กซี่ทางช้างเผือก

เราจะต้องเริ่มต้นที่ไหนสักแห่ง

ทำไมไม่เริ่มต้นที่นั่น?

ทำไมไม่เริ่มตอนนี้?

โชคร้ายที่คุณกระโดดขึ้นกระสวยอวกาศ…

และไปดวงจันทร์ตอนนี้เลยไม่ได้

แต่คุณสามารถเรียนรู้สิ่งที่น่าสนใจ เกี่ยวกับอวกาศและจักรวาลของเรา

และเรายังช่วยคุณได้อีกด้วย

Kurzgesagt และ Brilliant กำลังร่วมกัน ผลิตชุดวิดีโอหกตอน

ในหัวข้อโปรดของเราเกี่ยวกับ วิทยาศาสตร์และอวกาศ

Kurzgesagt และ Brilliant ได้ทำงานด้วยกันมาสักพักแล้ว

และพวกเราชอบสิ่งที่เขาทำมาก

พูดกันโดยสรุป Brilliant ช่วยให้ คุณเก่งขึ้นด้วยคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์

ด้วยการแก้ไขปัญหาเองคุณจะได้ เรียนรู้แนวคิดแทนที่จะมานั่งจำข้อเท็จจริง

ถ้าคุณอยากจะคิดให้เหมือนนักวิทยาศาสตร์

เข้าไปที่ Brilliant.org/nutshell และสมัครได้ฟรี

ผู้ใช้ลิงก์ดังกล่าว 698 คนแรก จะได้ส่วนลด 20% สำหรับค่าสมาชิกรายปี

และยังสนับสนุนการทำงานร่วมกันของเรากับ Brilliant อีกด้วย