ทำไมวาฬสีน้ำเงินถึงไม่เป็นมะเร็ง? - ปฏิทรรศน์ของเพโต | Kurzgesagt

🎁Amazon Prime 📖Kindle Unlimited 🎧Audible Plus 🎵Amazon Music Unlimited 🌿iHerb 💰Binance

วิดีโอ

สรุป

โรคมะเร็งเป็นสิ่งที่น่าขนลุกและก็ลึกลับ

ในระหว่างพยายามที่จะศึกษาและเข้าใจมัน เพื่อหาวิธีการที่ดีขึ้นในการกำจัดมัน

เราก็ได้ค้นพบความขัดแย้งทางชีวภาพ

ที่ยังคงหาคำตอบไม่ได้ จนถึงทุกวันนี้

สัตว์ที่มีขนาดใหญ่ ดูเหมือนจะมีภูมิต้านทานต่อโรคมะเร็ง

ซึ่งมันไม่สมเหตุสมผลเลย

ยิ่งสิ่งมีชีวิตขนาดใหญ่ ปริมาณของมะเร็งก็ควรจะมากตาม

เพื่อที่จะรู้ว่าทำไม ก่อนอื่นเราต้องมาดูลักษณะของโรคมะเร็งก่อน

เซลล์ของเรา คือหุ่นยนต์โปรตีน

ที่ประกอบไปด้วยชิ้นส่วนเป็นร้อยๆ ล้านชิ้น

ทำงานตอบสนองไปตามปฏิกิริยาทางเคมีเท่านั้น

เซลล์สร้างและแยกส่วนโครงสร้าง

รักษาการเผาผลาญเพื่อสร้างพลังงาน

หรือสร้างตัวเองขึ้นมาใหม่ที่แทบจะสมบูรณ์แบบ

เราเรียกปฏิกิริยาทางเคมีที่ซับซ้อนเหล่านี้ว่า วิถีเมแทบอลิซึม(metabolic pathways)

มันคือโครงข่ายทางชีวเคมีที่ทำงานอยู่บนอีกโครงข่าย

ทำงานเป็นลำดับต่อเนื่องกัน ขึ้นไปเป็นชั้น ๆ

โดยส่วนใหญ่ แทบจะสามารถที่จะรับรู้สัญญาณจากจิตใต้สำนึกได้

ถึงอย่างนั้น พวกมันก็ยังคงทำงานได้อย่างสมบูรณ์แบบ

จะกระทั่ง…

มันไม่ได้เป็นไปอย่างนั้น

จากปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นเป็นพันๆ ล้านครั้ง ในหลายๆ พันโครงข่ายทำงานด้วยกัน เป็นเวลาผ่านไปหลายปี

คำถามไม่ใช่ว่า ถ้ามันเกิดความผิดพลาดล่ะ?

แต่คือ มันจะเกิดขึ้นเมื่อไหร่ต่างหาก?

ความผิดพลาดเล็กๆ น้อยๆ สะสมมากขึ้นเรื่อยๆ จนเริ่มเลวร้าย

เพื่อป้องกัน ไม่ให้เกิดสิ่งเลวร้ายจนควบคุมไม่ได้

เซลล์ของเรานั้น มีสวิตซ์กดเอาไว้สำหรับฆ่าตัวตาย

แต่ว่า สวิตซ์ฆ่าตัวตายนั้น มันก็ไม่ได้ทำงานสมบูรณ์แบบเสมอไป

ถ้าสวิทซ์ทำงานผิดพลาด เซลล์นั้นก็จะกลายเป็น เซลล์มะเร็ง

โดยส่วนใหญ่นั้น ก็จะถูกกำจัดโดยระบบภูมิคุ้มกัน อย่างรวดเร็ว

แต่ว่านี่เป็น การแข่งขันด้วยจำนวน

ถ้าให้เวลามากพอ เซลล์ก็จะเกิดความผิดพลาดมากพอ โดยไม่ทันสังเกต จนเริ่มแบ่งตัวเองให้มีจำนวนมากขึ้น

สัตว์ทุกชนิด ต้องรับมือกับปัญหานี้โดยทั่วกัน

โดยทั่วไปแล้ว เซลล์ของสัตว์ทุกชนิดจะมีขนาดเท่ากัน

เซลล์ของหนู ก็ไม่ได้มีขนาดเล็กกว่าเซลล์ของคุณหรอก

แค่จำนวนเซลล์ทั้งหมดของมัน มีน้อยกว่าเฉยๆ และมีอายุขัยที่สั้นกว่า

จำนวนเซลล์ที่น้อยกว่า และอายุขัยที่สั้นกว่านั้น

แปลว่า มีโอกาสน้อยกว่า ที่เกิดความผิดพลาดหรือเซลล์เกิดการกลายพันธ์

หรืออย่างน้อยมันก็ควรจะเป็นอย่างนั้น

มนุษย์มีชีวิตยืนยาวกว่าหนูถึง 50 เท่า

และมีจำนวนเซลล์มากกว่าถึง 1000 เท่าของหนู

แต่ถึงจะอย่างนั้น มนุษย์กับหนูกลับมีอัตราการเกิดมะเร็งที่เท่ากัน

น่าแปลกเข้าไปอีก เมื่อวาฬสีน้ำเงิน ที่มีเซลล์มากกว่ามนุษย์ถึง 3000 เท่า กลับไม่มีมะเร็งเกิดขึ้นเลย

นี่คือ ความขัดแย้งของพีโต (Peto’s Paradox)

ซึ่งก่อให้เกิดความสับสนที่ว่า สัตว์ขนาดใหญ่ จะเกิดโรคมะเร็งได้น้อยมากๆๆ กว่าที่มันควรจะเป็น

นักวิทยศาสตร์คิดว่า มีคำตอบ 2 ข้อหลักๆ ที่สามารถอธิบายความขัดแย้งนี้ได้

การวิวัฒนาการ และ hypertumor

ข้อที่ 1 วิวัฒนาการ หรือ กลายเป็นส่วนหนึ่งของมะเร็ง

สิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ ได้เกิดขึ้นมาตั้งแต่ 600 ล้านปีที่แล้ว

สัตว์มีขนาดใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ

หมายถึงเซลล์มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น ดังนั้นจึงมีโอกาสมากขึ้นที่เซลล์จะเกิดความผิดพลาด

ดังนั้น เผ่าพันธ์จึงต้องมีการเสริมการป้องกันมะเร็งให้ดียิ่งขึ้นเสมอ

เผ่าพันธ์ไหนไม่ทำ ก็จะสูญพันธ์ลงไป

แต่โรคมะเร็ง ไม่ใช่แค่อยู่ๆ ก็เกิดขึ้น

มันคือกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับความผิดพลาดจากแต่ละส่วนประกอบ

และ การกลายพันธ์ของยีนบางตัว ภายในเซลล์ๆหนึ่ง

ยีนเหล่านั้นเรียกว่า proto-oncogenes

และเมื่อมันกลายพันธ์ นั่นแหละข่าวร้าย

อย่างเช่น ด้วยการกลายพันธ์ุได้อย่างเหมาะสม เซลล์จะเสียความสามารถให้การทำลายตัวเอง

การกลายพันธ์ุอีกอย่าง ก็พัฒนาความสามารถในการพรางตัว

อีกอย่างก็ ร้องขอทรัพยากร

อีกอย่างนึง คือแบ่งตัวเองให้มีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว

ยีน oncogene เหล่านี้ก็มีคู่ปรับอยู่เหมือนกัน

นั่นคือ Tumor Supressor gene

พวกมันคอยป้องกันการเกิดการกลายพันธุ์ที่ผิดปกติ

หรือสั่งให้เซลล์ทำลายตัวเอง ถ้าหากมันว่าเกินกว่าที่จะแก้ไขไปแล้ว

กลายเป็นว่า สัตว์ที่มีขนาดใหญ่มียีนเหล่านี้อยู่จำนวนมาก

ด้วยเหตุนี้ เซลล์ของช้างจำเป็นต้องใช้การกลายพันธ์ุจำนวนมากกว่าเซลล์ของหนู ถึงจะมีเนื้องอกเกิดขึ้น

พวกมันไม่ได้มีภูมิต้านทาน

แต่ฟื้นฟูสภาพได้ดีว่า

การปรับตัวนี้ อาจจะแลกมาด้วยอะไรบางอย่าง แต่นักวิจัยก็ยังไม่แน่ใจว่ามันคืออะไร

บางที Tumor suppressor ทำให้ช้างแก่ตัวเร็วขึ้น หรือฟื้นตัวจากบาลแผลได้ช้าลง

เรายังไม่รู้

แต่คำตอบของความขัดแย้งนี้ อาจจะเป็นอะไรบางอย่างที่ต่างออกไป

Hypertumors

คำตอบข้อที่ 2 Hypertumors

ใช่ ตามนั้นเลย

Hypertumors ตั้งชื่อล้อตาม Hyperparasite ที่หมายถึง ปรสิต ของ ปรสิต

Hypertumors ก็คือ เนื้องอก ของ เนื้องอก

เหล่าเซลล์มะเร็งนั้น อาจจะสามารถแตกคอกันได้

โดยปกติแล้ว เซลล์จะทำงานร่วมกันเพื่อก่อตัวเป็นอวัยวะ, เนื้อเยื่อ หรือ เป็นองค์ประกอบของระบบภูมิคุ้มกัน

แต่เซลล์มะเร็งนั้นเห็นแก่ตัว

และทำงานเพื่อผลประโยชน์ระยะสั้นของตัวเองเท่านั้น

ถ้าพวกมันทำสำเร็จ มันจะกลายเป็นเนื้องอก

กลุ่มก้อนเซลล์มะเร็งขนาดใหญ่ ที่กำจัดทิ้งได้ยาก

กว่าจะเป็นเนื้องอกนั้น ก็ไม่ได้ง่าย

เซลล์มะเร็งเป็นล้านๆ เซลล์เพิ่มจำนวนได้อย่างรวดเร็วนั้น จะต้องใช้ทรัพยากรและพลังงานเป็นจำนวนมาก

สารอาหารที่พวกมันสามารถแย่งชิงมาจากร่างกาย เริ่มเป็นปัจจัยที่มีผลต่อการเจริญเติบโต

ดังนั้น เนื้องอกจึงหลอกให้ร่างกายสร้างเส้นเลือดขึ้นมาใหม่ เชื่อมต่อโดยตรงไปยังเนื้องอกเลย

เพื่อป้อนอาหารให้กับสิ่งที่กำลังฆ่าตัวมันเอง

ด้วยธรรมชาติของเซลล์มะเร็ง อาจจะกำลังเป็นหายนะแก่พวกมันเอง

เซลล์มะเร็งมีความไม่เสถียรเป็นพื้นเดิมอยู่แล้ว

ดังนั้นพวกมันก็ยังคงกลายพันธ์ุต่อไปเรื่อยๆ

บางตัวก็กลายพันธ์ุเร็วเพื่อน

ถ้าพวกมันเป็นอย่างนี้ต่อไปซักพัก

ณ จุดๆนึง เซลล์มะเร็งซักตัวหนึ่งที่เป็นตัวสำเนา ที่มาจากตัวสำเนา ที่มาจากตัวเซลล์ต้นแบบ

อาจจะเริ่มคิดว่าตัวมันเองนั้นเป็นตัวต้นแบบ

แล้วก็เลิกให้ความร่วมมือกับ กลุ่มเซลล์มะเร็งต้นแบบที่มันจากมา

ซึ่งหมายความว่า เซลล์มะเร็งกลุ่มแรกนั้น กลายเป็นศัตรูของมันทันที

แล้วต่อสู้เพื่อแย่งชิงสารอาหารและทรัพยากร

ดังนั้น เซลล์มะเร็งกลุ่มใหม่ก็จะสามารถสร้าง Hypertumors ได้

แทนที่จะช่วยเหลือ พวกมันตัดเส้นเหลือที่หล่อเลี้ยงมะเร็งตัวเก่าที่สร้างมันมา

ซึ่งทำให้มะเร็งตัวเก่าขาดสารอาหารตาย

มะเร็งกำลังฆ่ามะเร็ง

กระบวนการนี้ สามารถเกิดขึ้นซ้ำไป ซ้ำมา

และนี้อาจจะเป็นการป้องกันมะเร็งไม่ให้เป็นปัญหา ในอวัยวะขนาดใหญ่

เป็นไปได้ว่า สัตว์ขนาดใหญ่อาจมี hypertumors มากกว่าที่เราคิด

แค่มีขนาดไม่ใหญ่พอที่จะแสดงอาการ

ซึ่งก็เป็นไปได้ เพราะว่า เนื้องอก 2 กรัม คิดเป็น 10% ของน้ำหนักตัวของหนู

น้อยกว่า 0.002% ของมนุษย์

และ 0.000002% ของวาฬน้ำเงิน

โดยที่เนื้องอกทั้งสาม มีจำนวนการแบ่งตัวที่เท่ากัน และมีจำนวนเซลล์ที่เท่ากัน

ดังนั้นวาฬน้ำเงินอาจจะเต็มไปด้วยมะเร็งก้อนเล็กๆ แต่ก็ไม่ต้องแคร์อะไร

มีคำตอบอื่นอีกสำหรับอธิบายความขัดแย้งของพีโต

เช่น ความแตกต่างของระดับการเ ผาผลาญพลังงาน

หรือโครงสร้างเซลล์ที่แตกต่างกัน

แต่ตอนนี้ พวกเรายังไม่รู้

นักวิทยาศาสตร์ กำลังแก้ไขปัญหานี้อยู่

หาคำตอบว่าสัตว์ขนาดใหญ่สามารถปรับตัวเข้ากับโรคที่ร้ายแรงที่สุดโรคนึงที่เรารู้จักได้อย่างไร

ก็จะสามารถเปิดทางสู่วิธีการรักษาแบบใหม่

มะเร็งนั้นเป็นอะไรที่ท้าทายมาโดยตลอด

วันนี้ ในที่สุดเราก็เริ่มเข้าใจมันแล้ว

และต่อไป ในสักวันนึง เราก็อาจจะเอาชนะมันได้

คำบรรยายไทยโดย : anirut thammawiset