การล้นของประชากร และ ทวีปแอฟริกา | Kurzgesagt

🎁Amazon Prime 📖Kindle Unlimited 🎧Audible Plus 🎵Amazon Music Unlimited 🌿iHerb 💰Binance

วิดีโอ

สรุป

ตลอดเวลาที่ผ่านมาในประวัติศาสตร์ ส่วนใหญ่แล้วประชากรมนุษย์จะเพิ่มขึ้นอย่างเชื่องช้า

จนกระทั่งการค้นพบใหม่ๆทำให้มนุษย์มีอาหารมากขึ้น และทำให้มนุษย์มีอายุขัยมากขึ้น

ภายในช่วงเวลาแค่ร้อยปี ประชากรโลกเพิ่มขึ้นเป็นสี่เท่า

นี่ทำให้เรากังวลถึงอนาคตที่โลกอาจจะมีประชากรมากเกินไป

แต่จริงๆแล้วอัตราการเติบโตของประชากรได้ถึงจุดสูงสุดแล้วเมื่อช่วง 1960

นับแต่นั้น อัตราการเจริญพันธุ์ตกลงอย่างรวดเร็ว เมื่อประเทศต่างๆเข้าสู่ยุคอุตสาหกรรมและมีการพัฒนามากขึ้น

ปัจจุบันเราคาดการณ์ว่า ประชากรจะเพิ่มขึ้นจนหยุดที่ประมาณ 11 พันล้านคนภายในปี 2100

แต่เรายังไม่ได้พิจารณารายละเอียดยิบย่อยเลย

ลองมาดูภูมิภาคหนึ่งกัน ซึ่งก็คือ Sub-Saharan Africa (ซับซาฮาราแอฟริกา - แอฟริกาใต้ทะเลทรายซาฮาร่า)

ในปี 2019 ซับซาฮาราแอฟริกา มีประชากร 1 พันล้านคน อาศัยอยู่ใน 46 ประเทศ

แม้ว่าอัตราการเติบโตประชากรจะหดลงในช่วงไม่กี่ทศวรรษที่แล้ว แต่ก็ยังคงสูงกว่าภูมิภาคอื่นของโลกมาก

ประชากรของภูมิภาคถูกคาดการณ์ว่าจะเติบโตขึ้นเป็น 2.6 พันล้านคน

บ้างก็ทำนายว่าจะพุ่งสูงถึง 5 พันล้านคนภายในปี 2100

การเติบโตขนาดนี้ย่อมเป็นความท้าทายที่ยิ่งใหญ่ไม่ว่าจะในสังคมใดๆ

แต่ซับซาฮาราแอฟริกาก็เป็นภูมิภาคที่ยากจนที่สุดของโลก

ดังนั้น…ซับฮาราแอฟริกากำลังจะฉิบหายหรือเปล่า และทำไมการคาดการณ์ประชากรถึงต่างกันถึง 2.4 พันล้านคน (2.6 กับ 5 พันล้านคน)

เหตุผลก็คือเรื่องนี้เป็นเรื่องซับซ้อน

ซับฮาราแอฟริกาเป็นเพียงชื่อเรียกรวมๆ และเป็นชื่อที่ไม่ค่อยช่วยอะไร

บอตสวานาอยู่ห่างจากเซียร่าลีโอน พอๆกับ ระยะทางจากไอร์แลนด์ถึงคาซัคสถาน

ทั้ง 2 ชาติ ก็แทบจะไม่มีอะไรเหมือนกันเลย

แต่ถ้าเราไม่ใช้ชื่อเรียกรวมๆ วิดีโอนี้คงใช้เวลานับชั่วโมงในการอธิบาย

เราก็ได้พูดคุยกับนักวิทยาศาสตร์จำนวนมากเกี่ยวกับเรื่องนี้ พวกเขาเองก็ไม่เห็นพ้องกันในหลายๆเรื่อง

หลักๆก็ว่า อัตราการเจริญพันธุ์มีผลมากเท่าไรกับความยากจน

เราได้พยายามอย่างสุดความสามารถในการเรียบเรียงงานวิจัยและความเห็นของนักวิจัย

แต่ผู้ฟังควรจะหาข้อมูลเพิ่มเติม และเช็คแหล่งข้อมูลที่เราให้มาด้านใต้วิดิโอ ซึ่งเป็นข้อมูลที่เราจะพูดต่อไปในรายละเอียด

โอเค..เรากลับมามองภาพรวมของโลกอีกครั้ง

หลายทศวรรษก่อน หลายประเทศในเอเชียเคยอยู่ในจุดเดียวกับซับฮาราแอฟริกาในวันนี้

ประชากรส่วนใหญ่ยังยากจนอย่างยิ่ง และอัตราการเกิดยังคงสูงมาก

เช่นบังคลาเทศ ในปี 1960 ผู้หญิงโดยเฉลี่ยมีลูกประมาณ 7 คนตลอดช่วงชีวิต

25% ของลูกตายก่อนมีอายุครบ 5 ปี

และมีเพียงหนึ่งคนเท่านั้นที่อ่านออกเขียนได้จากเด็กที่รอดชีวิตห้าคน

อายุขัยเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 45 ปี และรายได้ต่อหัวเฉลี่ยอยู่ในบรรดาประเทศในโลกที่มีต่ำที่สุด

ดังนั้นตั้งแต่ปี 1960 บังคลาเทศเริ่มแผนด้านการวางแผนครอบครัว โดยมีเสาหลัก 3 ด้านด้วยกัน

  1. การศึกษา ซึ่งช่วยเปลี่ยนภาพลักษณ์ของผู้หญิง

ผู้หญิงที่มีการศึกษาสูงมีแนวโน้มที่จะต้องการมีลูกน้อยลง และเริ่มเป็นแม่คนในช่วงอายุที่มากขึ้น

  1. สุขภาวะที่ดีขึ้นช่วยลดอัตราการตายของเด็ก ทำให้พ่อแม่ต้องการมีลูกจำนวนน้อยลง เพราะลูกที่เกิดมีโอกาสรอดที่สูงขึ้น

  2. การคุมกำเนิดได้ถูกนำเข้าไปถึงพื้นที่ที่ห่างไกลที่สุด

ทำให้การคุมกำเนิดเพิ่มขึ้นจากเพียง 8% ในปี 1975 เป็น 76% ในปี 2019

ทั้ง 3 วิธีนี้ช่วยลดอัตราการเติบโตของประชากรอย่างมาก

ในปี 1960 ผู้หญิงบังคลาเทศมีลูกเฉลี่ย 7 คน และลดลงไปอยู่ที่ 4 คนในปี 1995 และเหลือ 2 คนในปี 2019

นี่ยังทำให้เปลี่ยนโครงสร้างประชากรและเศรษฐกิจด้วย

ก่อนหน้านี้ เด็กจำนวนมากเกิดและตายก่อนที่จะทำงานให้กับสังคม

เมื่อการตายของเด็กลดลงพร้อมกับอัตราการเกิดของเด็ก หลายสิ่งก็เปลี่ยนไป

เด็กได้รับการศึกษามากขึ้น และเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่สร้างผลิตผลให้กับสังคม

งบประมาณรัฐที่ถูกใช้ไปกับเด็กที่ตายก็สามารถนำไปใช้กับโครงการอื่นเพื่อให้เศรษฐกิจเติบโตขึ้น

ภายในปี 2024 บังคลาเทศถูกคาดการณ์ว่าจะพัฒนาจากกลุ่มประเทศที่พัฒนาน้อยที่สุด (LDCs) ไปเป็นกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา

ประเทศอื่นๆเช่นเกาหลีใต้ อินเดีย ไทย และฟิลิปปินส์ ต่างก็เริ่มกระบวนการที่คล้ายคลึงกัน บางประเทศดำเนินไปได้เร็วกว่า

การลงทุนด้านสาธารณสุขและการศึกษา ช่วยเปลี่ยนโครงสร้างประชากรตามวัย และทำให้รัฐสามารถกระตุ้นเศรษฐกิจ

ทำไมสิ่งเดียวกันนี้ถึงไม่เกิดขึ้นกับซับฮาราแอฟริกาล่ะ

แอฟริกาโดยรวม มีความก้าวหน้าบ้างในเรื่องอัตราการตายของเด็กที่ลดลง

แต่ในซับฮาราแอฟริกา การศึกษาพัฒนาได้ช้ากว่าภูมิภาคอื่นของโลก

และแม้ว่าการคุมกำเนิดได้เพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าในภูมิภาคตั้งแต่ปี 1990

ยังมีวัยรุ่นอีกประมาณ 60% ที่ยังคงต้องการการเข้าถึงการคุมกำเนิด

เหตุผลนั้นซับซ้อนและเป็นไปไม่ได้เลยที่จะให้คำตอบได้แน่ชัด

แอฟริกาเป็นทวีปที่ใหญ่และมีความหลากหลายทางวัฒนธรรมและเชื้อชาติสูงมาก

แต่ก็มีปัจจัยสำคัญอยู่ไม่กี่อย่าง

หลายประเทศในภูมิภาคซับฮาราตกเป็นอาณานิคมของยุโรปจนถึงเมื่อไม่กี่ทศวรรษก่อน

และผ่านกระบวนการที่ยากลำบากกว่าจะได้รับอิสรภาพ

ประเทศที่เพิ่งเกิดใหม่เหล่านี้ขาดเอกภาพทางเชื้อชาติ และความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน

บางพื้นที่ตกอยู่ในสงครามกลางเมืองตลอดเวลา รวมถึงความขัดแย้งทางทหาร และรัฐบาลที่ขาดเสถียรภาพ

นั่นทำให้การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและสาธารณสุขเป็นไปได้ช้ามาก

แอฟริกาจึงเริ่มต้นจากจุดที่แย่กว่าเอเชีย

การช่วยเหลือจากนานาชาติ และการแจกจ่ายสิ่งของให้คนในพื้นที่ โดยเฉพาะในช่วงสงครามเย็น ก็เป็นประเด็นที่ได้รับการถกเถียงอยู่

ปัญหานี้ซับซ้อนเกินกว่าจะพูดออกมาในไม่กี่ประโยคได้

เราอาจจะทำวิดิโอเกี่ยวกับประเด็นนี้อีกในอนาคต

สุดท้ายนี้ ประเด็นทางวัฒนธรรมทำให้การพูดคุยเรื่องการวางแผนครอบครัวในแอฟริกาเป็นเรื่องยาก

ผู้ไม่เห็นด้วยได้โต้แย้งว่าการพยายามลดอัตราการเจริญพันธุ์เป็นการละเมิดต่อวัฒนธรรมและประเพณีดั้งเดิม

การไม่หยิบประเด็นปัญหาขึ้นมาพูดก็ส่งผลให้แก้ไขอะไรไม่ได้

แต่การหยิบยกประเด็นปัญหาขึ้นมาพูดก็ไม่ใช่วิธีที่ใช้ได้กับทุกประเทศ

เรากำลังพูดถึงที่ที่มี 46 ประเทศอยู่ด้วยกัน บางประเทศยังมีปัญหาที่ฝังรากลึก แต่บางประเทศก็พัฒนาไปแล้ว

หรืออาจจะประสบปัญหาบางอย่างที่เป็นเรื่องเฉพาะของประเทศตัวเอง

ถ้าประชากรยังคงเติบโตในอัตราปัจจุบัน ซับฮาราแอฟริกาจะมีประชากรมากถึง 4 พันล้านคนในปี 2100

โอเค..แล้วเราทำอะไรได้บ้างล่ะ

จริงๆแล้ว..ก็เยอะแหละ

โดยเฉพาะการลงทุนในด้านการศึกษา การวางแผนครอบครัว และระบบสาธารณสุข

การเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อยอาจเกิดผลได้มหาศาล

เช่นว่า ถ้าผู้หญิงเข้าถึงการศึกษาที่ดี และมีลูกหลังจากเดิมสักสองปี

ช่องว่างเล็กๆระหว่างรุ่นพ่อแม่และรุ่นลูก ทำให้ประชากรในปี 2100 4 พันล้านคนลดลงเหลือเพียง 3.6 พันล้านคน

หากการศึกษาและการวางแผนครอบครัวสามารถเข้าถึงได้โดยผู้หญิงแอฟริกาทุกๆคน

มีการเข้าถึงการคุมกำเนิดได้ จะทำให้การมีลูกกลายเป็นทางเลือก

หากครอบครัวสามารถเลือกได้ว่าจะมีลูกกี่คน ประชากรที่ถูกคาดการณ์ไว้จะลดลงไปถึง 30% เหลือเพียง 2.8 พันล้านคน

นี่ไม่ใช่แค่หลักทฤษฎี

แต่มีตัวอย่างที่เกิดขึ้นจริงพอให้เรามองอนาคตในทางที่ดีขึ้นได้

เอธิโอเปีย ประเทศแอฟริกันที่ประชากรมากเป็นอันดับสอง ได้สร้างความก้าวหน้าในเวลาที่ค่อนข้างสั้น

การพัฒนาระบบสาธารณสุขช่วยลดอัตราการตายของเด็กจาก 20% เหลือเพียง 7% ตั้งแต่ปี 1990

และงบประมาณมากถึง 30% ของรัฐถูกนำไปลงทุนในด้านการศึกษา และจำนวนโรงเรียนก็เพิ่มขึ้นถึง 25 เท่าในเวลาสองทศวรรษ

สรุปแล้ว เรากำลังเผชิญความท้าทายที่ใหญ่มากแต่มันไม่ได้ห่างไกลจากคำว่าแก้ไขไม่ได้

ซับซาฮาราแอฟริกาไม่ได้ต้องการความสงสารหรือของขวัญ แต่ต้องการเพียงความสนใจและการลงทุนที่เป็นธรรม

ภูมิภาคนี้อุดมไปด้วยทรัพยากร วัฒนธรรมและศักยภาพ

หากทุกอย่างเป็นไปได้ด้วยดี แอฟริกาจะประสบความสำเร็จเหมือนกับเอเชียในช่วงสามทศวรรษที่ผ่านมา

ลองไปอ่านงานวิจัยเพิ่มเติมที่เค้าให้ไว้ด้านล่างนะครับ

ให้ดีคือหัดฟังภาษาอังกฤษด้วยจะได้ดูวิดิโออื่นๆรู้เรื่องบ้าง