ระบบสุริยะ -- บ้านของเราในอวกาศ | Kurzgesagt

🎁Amazon Prime 📖Kindle Unlimited 🎧Audible Plus 🎵Amazon Music Unlimited 🌿iHerb 💰Binance

วิดีโอ

สรุป

ที่นี่คือระบบสุริยะจักรวาล ซึ่งก็คือบ้านของเราในจักรวาลอันกว้างใหญ่ไพศาล

เราอาศัยอยู่ในส่วนที่แสนสงบสุขส่วนใดส่วนหนึ่งของทางช้างเผือก

บ้านของเราคือระบบสุริยะนั่นเอง

การก่อตัวราว 4.5 พันล้านปีที่แล้ว หมุนรอบศูนย์กลางกาแล็คซี่ที่

200,000 กิโลเมตร / ชั่วโมงและหมุนครบรอบ ทุกๆ 250 ล้านปี

ดาวของเราดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลาง ของระบบสุริยะ

มีดาวเคราะห์แปดดวงโคจรรอบ

อุกาบาตและดาวหางอีกล้านล้านดวง และมีดาวเคราะห์แคระอีกนิดหน่อย

ดาวเคราะห์แปดดวง แบ่งออกเป็นสี่ดวง ที่เหมือนโลกของเรา ได้แก่

ดาวพุธ ดาวศุกร์ โลก และดาวอังคาร

และดาวก๊าซยักษ์สี่ดวง: ดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส และดาวเนปจูน

ดาวพุธเป็นที่เล็กที่สุดและ ที่เบาที่สุดในบรรดาดาวเคราะห์ทั้งหมด

หนึ่งปีที่ดาวพุธสั้นกว่าวันหนึ่งที่ดาวพุธ ซึ่งนำไปสู่

อุณหภูมิที่มีความผันผวนอย่างมาก

ดาวพุธไม่มีชั้นบรรยากาศหรือดวงจันทร์

ดาวศุกร์เป็นหนึ่งในวัตถุที่สว่างที่สุดใน ระบบสุริยะ

เป็นดาวเคราะห์ที่ร้อนที่สุด มีความดันใน ชั้นบรรยากาศที่

92 เท่าของบนโลก

มีภาวะเรือนกระจกที่สุดโต่ง นั่นหมายความว่าดาวศุกร์

ไม่เคยมีอุณหภูมิต่ำกว่า 437 °C เลย

ดาวศุกร์ก็ไม่ได้มีดวงจันทร์เช่นกัน

โลกเป็นบ้านของเราและเป็นดาวเดียว

ที่มีอุณหภูมิที่อยู่ในระดับพอเหมาะ ทำให้เกิดน้ำที่มีสถานะเป็นของเหลว

นอกจากนี้ก็ยังเป็นสถานที่เดียวในขณะนี้ ที่รู้ว่ามีสิ่งมีชีวิตดำรงอยู่

โลกมีดวงจันทร์หนึ่งดวง

ดาวอังคารเป็นดาวเคราะห์ที่มีขนาดเล็กเป็นอันดับสอง ในระบบสุริยะ

และแทบจะมีมวลไม่มากพอจึงทำให้ เกิดชั้นบรรยากาศที่เบาบาง

โอลิมปัสมอนส์เป็นภูเขาที่ใหญ่ที่สุด ในระบบสุริยะ

สูงมากกว่าสามเท่าของยอดเขา เอเวอร์เรส

ดาวอังคารมีดวงจันทร์ขนาดเล็กสองดวง

ดาวพฤหัสบดีมีขนาดใหญ่ที่สุดและมีมวลมากที่สุด ในบรรดาดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ

มันประกอบด้วยไฮโดรเจนและ ฮีเลียมเป็นส่วนใหญ่

และเป็นสถานที่ที่พบพายุ ใหญ่ที่สุดและรุนแรงมากที่สุดเท่าที่เรารู้จัก

พายุที่ใหญ่ที่สุดคือจุดแดงใหญ่, มีขนาดเป็นสามเท่าของโลก

ดาวพฤหัสบดีมีดวงจันทร์หกสิบเจ็ดดวง

ดาวเสาร์เป็นดาวเคราะห์ที่ใหญ่เป็นอันดับสองและ มีความหนาแน่นที่น้อยที่สุด

ในบรรดาดาวเคราะห์ทั้งหมด

เปรียบเทียบได้ว่าหากคุณมีอ่างอาบน้ำขนาดใหญ่ ดาวเสาร์จะลอยอยู่ในนั้น

ดาวเสาร์เป็นที่รู้จักกันดีสำหรับ วงแหวนที่มองเห็นได้ชัดของมัน

มันมีดวงจันทร์หกสิบสองดวง

ดาวยูเรนัสเป็นดาวเคราะห์ที่ใหญ่เป็นอันดับสาม และเป็นหนึ่งในที่หนาวเย็นมากที่สุด

และก็ยังเล็กที่สุด ในบรรดาดาวก็าซยักษ์

สิ่งที่พิเศษเกี่ยวกับดาวยูเรนัสก็คือว่า แกนของการหมุน

เอียงไปด้านข้างในทางตรงกันข้ามกับ ดาวเคราะห์ดวงอื่น ๆ ทั้งเจ็ดดวง

มันมีดวงจันทร์ยี่สิบเจ็ดดวง

ดาวเนปจูนเป็นดาวเคราะห์ที่สุดท้ายในระบบ สุริยะและมีความคล้ายคลึงกับดาวยูเรนัส

มันไกลจากดวงอาทิตย์มากจน หนึ่งปีที่ดาวเนปจูนเป็น 164 ปีของโลก

ความเร็วลมสูงสุดที่เคยวัด ได้ในพายุบนดาวเนปจูน,

ก็เพียงเกือบๆ 2,100 กิโลเมตร / ชั่วโมง

ดาวเนปจูนมีดวงจันทร์สิบสี่ดวง

ถ้าเราเปรียบเทียบขนาดของดาวเคราะห์

ความแตกต่างระหว่างพวกมัน จะเป็นที่ชัดเจนมากขึ้น

ดาวพฤหัสบดีเป็นผู้นำโด่งในแง่ของ ขนาดและน้ำหนัก;

ในทางตรงข้าม ขนาดที่เล็กของดาวพุธ

มีขนาดเล็กกว่าดวงจันทร์แกนีมีด หนึ่งในบริวารดาวพฤหัสบดี

ดาวพฤหัสบดีมีขนาดใหญ่ เพียงแค่มวลของมัน ก็มีประมาณ 70% ของมวล

ของทุกดาวเคราะห์รวม ๆ กันและ ส่งผลกระทบอย่างมากต่อสิ่งที่แวดล้อมมัน

นับเป็นโชคดีสำหรับโลกเพราะ ดาวพฤหัสบดีดึงดูด

ดาวเคราะห์น้อยขนาดใหญ่จำนวนมากที่สามารถ ชนโลกจนทำให้สิ่งชีวิตบนโลกสูญพันพธุ์ได้

แม้แต่ดาวพฤหัสบดียังดูเป็นดาวแคระไปเสีย เมื่อเปรียบเทียบกับดวงอาทิตย์

เรียกดาวพฤหัสบดีว่าใหญ่ดูจะ ลำเอียงกับดวงอาทิตย์

99.86% ของมวลในระบบสุริยะ มาจากดวงอาทิตย์

ส่วนใหญ่ก็ประกอบด้วย ไฮโดรเจนและฮีเลียม

น้อยกว่า 2% เป็นธาตุหนัก เช่นออกซิเจนหรือเหล็ก

ที่แกนของดวงอาทิตย์เผาไฮโดรเจน 620 ล้านตันในแต่ละวินาที

และสร้างพลังงานพอที่จะตอบสนองความ ความต้องการของมนุษย์มานานเนิ่นนาน

แต่ไม่เพียงดาวเคราะห์แค่แปดดวง โคจรรอบดวงอาทิตย์

ดาวเคราะห์น้อยและดาวหางนับล้านล้าน ก็ยังโคจรอยู่

ส่วนใหญ่ของพวกมันรวมกันอยู่คล้าย เข็มขัดสองเส้น:

หนึ่ง แถบดาวเคราะห์น้อยระหว่างดาวอังคารและดาว ดาวพฤหัสบดี

และ สอง แถบไคเปอร์ที่ขอบของ ระบบสุริยะ

เข็มขัดเหล่านี้เป็นบ้านของวัตถุที่นับไม่ถ้วน บางอย่างมีขนาดเพียงเท่าอนุภาคฝุ่น

บางอย่างมีขนาดเท่าดาวเคราะห์แคระ

วัตถุที่รู้จักกันดีที่สุดใน แถบดาวเคราะห์น้อยคือเซเรส

วัตถุส่วนใหญ่รู้จักกันดีในแถบไคเปอร์ มีดาวพลูโต Makemake และ Haumea

โดยปกติแล้วเราจะอธิบายแถบดาวเคราะห์น้อยเป็น

ส่วนที่หนาแน่นและเกิดการ ชนอย่างต่อเนื่อง

แต่ในความเป็นจริง มีดาวเคราะห์น้อย กระจายไปทั่วบริเวณ ซึ่ง

กว้างใหญ่เสียจนยากที่จะ เห็นดาวเคราะห์น้อยสองดวงในคราวเดียว

แม้จะมีดาวเคราะห์น้อยหลายพันล้านดวงในแถบ

แถบดาวเคราะห์น้อยยังคงดูเหมือนพื้นที่่ว่างเปล่า นั่นเอง

และยังคงมีการชนกัน ครั้งแล้วครั้งเล่า.

มวลของแถบทั้งสองนั้น แทบจะไม่มีความสำคัญ:

แถบดาวเคราะห์น้อยมีมวลน้อยกว่า 4% ของมวลดวงจันทร์ของเราและ

แถบไคเปอร์มีขนาดระหว่าง 1/25 ถึง 1/10 ของมวลของโลก

วันหนึ่งระบบสุริยะจะหายไป ไม่มีอยู่แล้ว

ดวงอาทิตย์จะตาย และดาวพุธ ดาวศุกร์ บางทีโลกด้วยก็จะถูกทำลาย

ในเวลา 500 ล้านปี ดวงอาทิตย์จะร้อนขึ้นเรื่อยๆ และร้อนจนถึงจุดหนึ่ง

มันจะละลายเปลือกโลก

จากนั้นดวงอาทิตย์จะโตขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั่งกลืนโลก

หรืออย่างน้อยก็ทำให้โลกกลายเป็นทะเลลาวา

เมื่อดวงอาทิตย์ได้ถูกเผาไหม้เป็นเชื้อเพลิงเกือบทั้งหมดและ สูญเสียมวลไปมาก

มันจะหดตัวจนเป็นดาวแคระขาวและเผาไหม้ช้าๆ ต่อไปอีกไม่กี่พันล้านปี

ก่อนที่จะหายไปอย่างสิ้นเชิง

จากนั้น ท้ายที่สุดแล้ว ชีวิตในระบบสุริยะ คือสิ่งเป็นไปไม่ได้

ทางช้างเผือกเองจะแทบจะไม่ได้สังเกตว่า

ส่วนเล็ก ๆ อย่างระบบสุริยะในแขนข้างหนึ่ง จะกลายเป็นเพียงจุดที่มืดขึ้นเล็กน้อย

และมนุษย์จะหายไป หรือออกจากระบบสุริยะ

เพื่อการค้นหาดาวบ้านดวงใหม่

คำบรรยายโดยชุมชน Amara.org : Thunwa Somboonvit, ytuaeb sciencemath

Subtitles by the Amara.org community