วิดีโอ
สรุป
GMO เป็นหนึ่งในปัญหาที่มีการถกเถียงกันมานานมากที่สุดในวงการวิทยาศาสตร์
มีการใช้ประโยชน์จากการตัดต่อพันธุกรรมในหลายทาง
ถึงแม้ว่าในทางด้านการรักษาอย่างเช่น อินซูลินที่ผลิตโดยกระบวนการ GMO จะได้รับการยอมรับนั้น
แต่การถกเถียงกันเริ่มจะรุนแรงขึ้นเมื่อพูดถึงเรื่องการใช้GMO กับการผลิตอาหาร
ทำไมล่ะ?
ทั้งๆที่เป็นสิ่งเดียวกันแต่ผู้คนยังปฏิบัติกับมันต่างกัน?
เราลองมาดูเบื้องลึกเกี่ยวกับเรื่องนี้กันเถอะ
แล้วมาสำรวจความจริง,ความน่ากลัว,และอนาคตเกี่ยวกับเรื่องนี้กันเถอะ!
[Intro song]
อะไรคือความเป็นธรรมชาติ?
มนุษย์ได้พยายามทำการเปลี่ยนแปลงข้อมูลทางพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตมานานหลายพันปี
ไม่ว่าผลผลิตบางส่วนของพืชคุณจะดีเป็นพิเศษ
หรือไม่ก็หมาป่าบางตัวของคุณจะซื่อสัตย์เป็นพิเศษ
ดังนั้นเราจึงทำสิ่งที่ฉลาดโดยผสมพันธุ์สิ่งมีชีวิตที่มีลักษณะทางพันธุกรรมที่เราต้องการ
ลักษณะทางพันธุกรรมนั้นก็เป็นเพียงลักษณะการแสดงออกของยีนส์
ดังนั้นเมื่อผ่านการผสมพันธุ์ไปแต่ละรุ่นยีนส์นั้นก็จะแสดงออกมากขึ้น
หลายพันปีผ่านไปลักษณะของสิ่งมีชีวิตรอบๆตัวเราก็เปลี่ยนไปแทบไม่เหลือเค้าเดิม
แล้วถ้ามนุษย์ได้พยายามเปลี่ยนแปลงลักษณะทางพันธุกรรมมาเป็นพันๆปีแล้วล่ะก็?
ทำไมการตัดต่อยีนส์หรือ GMO มันถึงต่างกันล่ะ?
การคัดเลือกผสมพันธุ์นั้นก็เหมือนการใช้โชคให้ได้ลักษณะดีๆนี่แหละ
การใช้ GMO ก็เป็นการจัดการปัจจัยนี้ให้หมดไป
เราสามารถเลือกลักษณะที่เราต้องการได้
ทำให้ผลไม้ที่เรากินนั้น ลูกใหญ่ขึ้น ปลอดภัยจากการถูกสัตว์ทำลายและอื่นๆ
แล้วทำไมผู้คนยังกังวลอยู่ล่ะ
GMO ไม่ดีหรือ?
เรามาเริ่มกันที่ข้อท้วงติงเกี่ยวกับ GMO ที่คนทั่วไปไม่เห็นด้วยกัน
Gene Flow (การกระจายของยีนส์)
หมายความว่า พืชGMO อาจจะผสมพันธุ์กับพืชพื้นเมืองและอาจจะให้ลักษณะที่เราไม่ต้องการออกมาได้
เรามีวิธีที่น่าจะทำให้เรื่องนี้ไม่เกิดขึ้นได้ 100%แต่มันเป็นวิธีที่ทำให้เกิดการต่อต้าน GMO เสียเอง
“เมล็ดพันธุ์เป็นหมัน”
เป็นแนวคิดที่ว่าทำให้เมล็ดพันธุ์ GMO มี่ผลิตออกมานั้นเป็นหมันทำให้ชาวนาต้องซื้อเมล็ดใหม่ปีต่อไปทุกปี
แน่นอนว่าแนวคิดนี้ก่อให้เกิดการออกมาประท้วงให้หยุดใช้เทคโนโลยีนี้ซะ
นี้เป็นสิ่งที่ทำให้เราหวนกลับมาดูการกระจายที่ไม่ได้ตั้งใจของยีนส์ที่ถูกตัดต่อ
เคยมีเหตุการณ์หนึ่งที่พืช GMO ถูกปลูกขึ้น(ในที่ๆไม่ควรปลูก)มาแล้วเราก็พบลักษณะทางพันธุกรรมของมันปะปนอยู่กับพืชต่างประเทศ
พืช GMO ไม่สามารถถูกปลูกไว้เฉยๆได้
พืชหลายชนิดก็ผสมพันธุ์ภายในต้นเดียวกันและพืชทุกต้นต้องมีลักษณะเกี่ยวพันกันถึงจะปะปนกันได้
แต่ยังมีวิธีการปลูกอีกวิธีที่มีชื่อว่า “Buffer zone” เพื่อทำให้การผสมข้ามพันธุ์ที่ไม่ได้ตั้งใจให้เกิดได้น้อยที่สุด
โดยหลักการแล้วมันเป็นไปได้พืช GMO สามารถผสมพันธุ์กับพืชทั่วไปได้แต่มันยังมีคำถามที่สำคัญกว่านี้อีก
ว่าอาหารที่มาจากพืชตัดแต่งพันธุกรรมจะต่างกับอาหารที่ไม่ได้มาจากพืชตัดแต่งพันธุกรรมหรือไม่?
ปัญหานี้แหละที่เป็นปัญหาใหญ่ที่ทำให้เกิดความกังวลตั้งแต่ต้น
พืช GMO ที่จะผลิตเป็นอาหารนั้นได้รับการตรวจสอบอันตรายหลายอย่างแล้วโดยผ่านการประเมินโดยองค์กรต่างๆ
หลังจากเวลาผ่านไป 30 ปีและงานวิจัยอีกหลายพันชิ้น วิทยาศาสตร์ก็ได้พิสูจน์แล้วว่าพืช GMO ไม่มีความเสี่ยงพอๆกับพืชที่ไม่ได้รับการตัดแต่งพันธุกรรม
แต่อย่าพึ่งเชื่อคำของเราล่ะ ข้อมูลต่างๆที่เราได้มาอยู่ในคำอธิบายของวิดิโอ
แล้วพืชที่ถูกตัดแต่งให้มีสารพิษอยู่ในตัวล่ะ?
ตัวอย่างเช่น"BT Crops" หรือพืชที่ใส่ยีนส์ของแบคทีเรีย “Bacillus thuringiensis” ที่ทำให้พืชผลิตสารที่ฆ่าแมลงบางชนิดได้โดยการทำลายระบบย่อยอาหารของมัน
ต้นพืชชนิดนี้ได้ผลิตสารฆ่าแมลง(pesticide)แมลงที่กินมันจะตายทันที
นั่นมันฟังดูน่ากลัวนะ
ยาฆ่าแมลงยังสามารถถูกล้างออกได้
แต่ในขณะที่สารพิษของ “BT Crops"ยังอยู่ในตัวพืช
แต่มันก็ไม่ใช่ปัญหาใหญ่หรอก
ยาพิษก็เป็นแค่ปัญหาเกี่ยวกับมุมมองที่ต่างกันนั่นแหละ
อะไรก็ตามที่ไม่เป็นอันตรายต่อเรามันอาจจะเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นๆ
ตัวอย่างเช่นกาแฟมันสามารถฆ่าแมลงได้แต่มันทำอะไรเราไม่ได้เลย
หรือลองดูช็อกโกแลตสิมันอันตรายต่อสุนัขแต่มันคือสิ่งที่มนุษย์ชอบกิน
“BT crops"จะผลิตโปรตีนที่จะจับตัวกับเอนไซม์บางชนิดในทางเดินอาหารของแมลงซึ่งหมายความว่ามันไม่มีอันตรายต่อเรา
นอกจากนี้ยังมีวิธีที่ตรงกันข้ามกันอีกด้วย
พืชที่ถูกปรับแต่งพันธุกรรมให้สามารถทนต่อยาฆ่าแมลงบางชนิดได้
โดยวิธีการนี้ชาวนาสามารถใช้ยาฆ่าแมลงทำลายวัชพืชที่มาแย่งอาหารได้โดยไม่ทำอันตรายพืชที่ตนเองปลูกไว้
แล้วเราก็มาถึงด้านมืดของGMO บ้างล่ะ
สำหรับบริษัทผลิตยาฆ่าแมลงแล้วมันเป็นเงินก้อนโตเชียวล่ะ
พืชประมาณ 90% ในสหรัฐอเมริกามีการตัดต่อให้ทนต่อยาฆ่าแมลงได้โดยเฉพาะชนิด “Glyphosate”
ผลลัพธ์ที่ตามมาคือการเพิ่มขึ้นของการใช้ยาฆ่าแมลงชนิด"Glyphosate"จำนวนมาก
แต่นั่นมันไม่ได้แย่เสมอไปนะGlyphosate เป็นยาฆ่าแมลงที่อันตรายต่อมนุษย์น้อยกว่าชนิดอื่นๆ
อย่างไรก็ตามนั่นก็ทำให้ชาวนามีแรงจูงใจในการใช้ยากำจัดวัชพืช(weed ในที่นี้ไม่ใช่กัญชานะ - -)มากขึ้นทำให้ราคาค่ากำจัดวัชพืชน้อยลง
นั่นเป็นปัญหาที่เป็นพื้นฐานมากที่สุดของการถกเถียงเกี่ยวกับ GMO
การวิจารย์ที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีนี้จริงๆแล้วมันเกี่ยวกับการเกษตรในปัจจุบันและบริษัทที่ควบคุมเกี่ยวกับด้านนี้ต่างหาก
คำวิจารย์นี้นอกจากจะยังถูกต้องแล้วมันยังสำคัญอีกด้วย
เราต้องเปลี่ยนรูปแบบการผลิตอาหารปัจจุบันให้ยั่งยืนมากขึ้น
เทคโนโลยีGMO นอกจากยังเป็นตัวช่วยในเรื่องนี้และมันยังไม่ใช่ศัตรูอีกด้วย
ช่วยในการรักษาและปกป้องธรรมชาติและยังลดผลกระทบของเราต่อธรรมชาติลงอีกด้วย
GMO ทำอะไรดีๆได้บ้าง?
เรามาดูด้านดีของGMO บ้างดีกว่า
มะเขือม่วงเป็นพืชผลที่สำคัญในบังกลาเทศแต่ส่วนใหญ่จะถูกทำลายโดยสัตว์ต่างๆ(pest)
ชาวนาจึงต้องพึ่งยาฆ่าแมลงอย่างหนักหน่วง
นอกจากมันจะแพงแล้วยังทำให้ชาวนาป่วยบ่อยๆอีกด้วย
มะเขือม่วงตัดต่อพันธุกรรมพันธุ์ใหม่ที่ออกมาในปี 2013 สามารถช่วยชาวนาเอาไว้ได้
ซึ่งนั่นก็คือ โปรตีน BT ที่เราพูดถึงก่อนหน้านั้นนั่นเอง
เป็นตัวกำจัดแมลงชั้นเยี่ยมแต่ไม่มีผลต่อมนุษย์ได้ถูกตัดต่อลงไปในมะเขือม่วง
นี่เป็นการทำให้มีการลดการใช้ยาฆ่าแมลงในมะเขือม่วงในบังกลาเทศไปมากกว่า 80%
สุขภาพของชาวนาดีขึ้นและมีรายได้เพิ่มขึ้นมากมาย
และบางทีนะวิธีการใช้ GMO ก็เป็นวิธีเดียวด้วยสิ
ในปี 1990 อุตสาหกรรมการผลิตมะละกอในฮาวายได้รับผลกระทบจากโรคจุดวงแหวน(Ring Spot Virus)
ทำให้เกิดการล้างบางอย่างหนักหน่วงของมะละกอที่ฮาวาย
คำตอบของปัญหานี้คือมะละกอตัดแต่งพันธุกรรมให้ต้านทานต่อไวรัสชนิดนี้
ถ้าไม่มีมันอุตสาหกรรมการผลิตมะละกอของรัฐนี้คงจะล้มละลาย
อนาคตของ GMO
เรื่องราวที่กล่าวมานี้แสดงให้เห็นถึงความเกี่ยวข้องที่แคบมาก
99% ของพืชGMO ที่เราใช้ในปัจจุบัน ผลิตสารฆ่าแมลงหรือไม่ก็ถูกตัดแต่งให้ต้านยาฆ่าแมลง
ยังมีอะไรที่เราทำได้อีกมาก
นักวิทยาศาสตร์ยังคงศึกษาเกี่ยวกับ GMO ที่ช่วยเกี่ยวอาหารของเรา
พืชที่ผลิตสารอาหารเพิ่มเติมหรือแตกต่างจากเดิม
ตัวอย่างเช่น ผลไม้ที่ผลิตสารต้านอนุมูลอิสระมากกว่าเดิมซึ่งช่วยเสริมภูมิต้านทาน
หรือข้าวที่มีการเสริมวิตามินเข้าไป
สิ่งที่สำคัญที่สุดคือเราพยายามตัดต่อพืชให้ต้านทานต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ
พืชที่สามารถทนต่อสภาพอากาศที่ผิดปกติ(erratic weather)และสามารถทนต่อน้ำท่วมและอากาศที่แห้งแล้งได้
GMO นอกจากยังลดผลกระทบจากการทำเกษตรต่อสิ่งแวดล้อมแล้วยังสามารถช่วยป้องกันสิ่งแวดล้อมได้ด้วย
นักวิทยาศาสตร์ยังคงศึกษาเกี่ยวกับพืชที่ตรึงไนโตรเจนจากอากาศได้เหมือนแบคทีเรีย
ไนโตรเจนเป็นปุ๋ยที่ถูกใช้ทั่วไปแต่มันสามารถปนเปื้อนกับแหล่งน้ำใต้ดินได้ทำให้สภาพอากาศเปลี่ยนแปลงมากขึ้น
พืชที่สามารถตรึงไนโตรเจนได้เองสามารถแก้ปัญหาได้สองอย่างภายในครั้งเดียว
ไม่ว่าจะเป็นการใช้ปุ๋ยมากเกินไปในประเทศที่พัฒนาแล้ว
หรือการขาดแคลนปุ๋ยในประเทศที่กำลังพัฒนา
นอกจากนี้เรายังสามารถตัดต่อพืชทำให้พืชสามารถกักเก็บคาร์บอนไดออกไซด์ได้อย่างยอดเยี่ยมอีกด้วยเหมือนกับต้นAmerican Chestnut tree
ด้วยอุปกรณ์ที่เรามีตอนนี้แล้วจินตนาการของเราก็มีอย่างไม่สิ้นสุด
ข้อสรุป
ประชากรทั่วโลกกินอาหารประมาณ 11 ล้าน ปอนด์ต่อวัน
UN คาดการไว้ว่าเราต้องการอาหารเพิ่มอีก 70% ภายในปี 2050
เราอาจจะเพิ่มปริมาณการผลิตอาหารได้โดยการถางป่าเพื่อเพิ่มพื้นที่การผลิตอาหารและเพิ่มปริมาณการใช้ยาฆ่าแมลง
หรือเราอาจจะหาวิธีโดยใช้พื้นที่ที่เรามีอยู่แล้วด้วยวิธีที่มีประสิทธิภาพกว่าเช่นพืช GMO
เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตอาหารแทนที่จะเพิ่มปริมาณการผลิต
นั่นหมายความว่าพืช GMO อาจจะเป็นผลผลิตแบบใหม่
โดยสังเขปแล้ว GMOนอกจากจะมีศักยภาพมากพอที่จะปฏิวัติวงการการเกษตรแล้วยังช่วยลดผลกระทบของการกระทำอันไร้ความรับผิดชอบของมนุษย์ต่อสิ่งแวดล้อมอีกด้วย
GMO อาจจะเป็นอาวุธที่ทรงพลังที่สุดที่จะสามารถรักษาชีวภาคของเราด้วย
คำบรรยายไทยโดย: Thanasin Chalermchat