ความเหงา | Kurzgesagt

🎁Amazon Prime 📖Kindle Unlimited 🎧Audible Plus 🎵Amazon Music Unlimited 🌿iHerb 💰Binance

วิดีโอ

สรุป

เราทุกคนคงจะรู้สึกเหงากันบ้างเป็นครั้งคราว

ในตอนที่ไม่มีใครให้นั่งด้วยตอนกินข้าวกลางวัน

เมื่อเราย้ายไปเมืองใหม่

หรือเมื่อไม่มีใครมีเวลาให้เราในวันหยุดสุดสัปดาห์

แต่ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา ความรู้สึกที่เกิดขึ้นเป็นครั้งคราวนี้

กลายเป็นปัญหาเรื้อรังสำหรับคนหลายล้านคน

ในสหราชอาณาจักร 60% ของประชาชนอายุ 18-34 ปี มักจะ “รู้สึกเหงา” อยู่บ่อย ๆ

ในสหรัฐ 46% ของประชากรทั้งหมด รู้สึกเหงาเป็นประจำ

พวกเรากำลังอาศัยอยู่ในยุคที่คนเชื่อมต่อกันมากที่สุด

แต่จำนวนของคนที่รู้สึกโดดเดี่ยวกลับมีมาก อย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน

ความเหงาและการอยู่คนเดียวไม่ใช่สิ่งเดียวกัน

คุณอาจมีความสุขได้ด้วยตัวเอง

และเกลียดทุกวินาทีที่อยู่กับเพื่อน

ความเหงาเป็นความรู้สึกส่วนตัวล้วน ๆ

แล้วแต่ประสบการณ์ของแต่ละคน

ถ้าคุณรู้สึกเหงา คุณกำลังเดียวดาย

มักมีความเชื่อทั่วไปว่า

ความเหงาเกิดขึ้นเฉพาะกับคนที่ไม่รู้วิธีพูดคุยกับผู้อื่น

หรือวางตัวไม่ถูกเวลาอยู่กับผู้อื่น

แต่การศึกษาแบบฐานประชากรแสดงให้เห็นว่า

ทักษะทางสังคมไม่สร้างความแตกต่างสำหรับผู้ใหญ่ในทางปฏิบัติ

เมื่อกล่าวถึงการปฏิสัมพันธ์ทางสังคม

ความเหงาสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน

เศรษฐี ผู้มีชื่อเสียง ผู้มีอำนาจ คนหน้าตาดี คนที่มีทักษะทางสังคม หรือคนที่มีนิสัยดี

ไม่มีอะไรป้องกันคุณจากความเหงาได้ เพราะว่ามันเป็นส่วนหนึ่งในทางชีววิทยาของคุณ

“1. ความเหงาคืออะไร?”

ความเหงา เป็นกระบวนการอย่างหนึ่งของร่างกาย เหมือนกับ ความหิว

ความหิว ทำให้คุณใส่ใจในความต้องการทางกาย

ความเหงา ทำให้คุณใส่ใจในความต้องการทางสังคม

ร่างกายของคุณให้ความสำคัญกับ ความต้องการทางสังคม

เพราะหลายล้านปีที่แล้วมันเป็นตัวบ่งชี้สำคัญต่อความอยู่รอด

การคัดเลือกทางธรรมชาติให้รางวัลกับบรรพบุรุษของเรา

สำหรับการให้ความร่วมมือ และการสร้างสัมพันธภาพกับผู้อื่น

สมองของเราเติบโตขึ้น และเข้าใจสิ่งที่ผู้อื่นคิดและรู้สึกมากขึ้น

เพื่อสร้างและรักษาความสัมพันธ์ทางสังคมเอาไว้

การอยู่ร่วมกันเป็นสังคมกลายเป็นส่วนหนึ่งของการใช้ชีวิตของเรา (มนุษย์)

เราเกิดมาในกลุ่มคนจำนวน 50 ถึง 150 คน

ซึ่งมักจะอยู่กับเราไปทั้งชีวิต

การได้รับอาหารที่เพียงพอ

การอยู่ในสถานที่ปลอดภัยและอบอุ่น หรือการดูแลทายาทรุ่นถัดไป

แทบเป็นไปไม่ได้ที่จะทำเพียงลำพัง

การอยู่ด้วยกัน หมายถึงการมีชีวิตรอด

การอยู่คนเดียว หมายถึงความตาย

ฉะนั้นมันจึงเป็นเรื่องสำคัญมากที่เราจะต้องเข้ากับผู้อื่นได้

สำหรับบรรพบุรุษของเราแล้ว สิ่งที่เป็นภัยต่อความอยู่รอดที่สำคัญที่สุดไม่ใช่การถูกสิงโตกิน

แต่เป็นการไม่ได้รับความสำคัญจากสังคมและถูกทอดทิ้ง

เพื่อป้องกันสิ่งนั้น ร่างกายของเราจึงสร้าง “ความเจ็บปวดทางสังคม”

ความเจ็บปวดเช่นนี้เป็นการปรับตัวเชิงวิวัฒนาการต่อการ ถูกปฏิเสธ

เหมือนระบบเตือนภัยล่วงหน้า

เพื่อทำให้เราเลิกพฤติกรรมที่จะทำให้เราแปลกแยกจากสังคม

บรรพบุรุษของเราที่รู้สึกเจ็บปวดกับการถูกปฎิเสธ

มีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนพฤติกรรมเมื่อพวกเขาถูกปฏิเสธ และดำรงอยู่ในเผ่าต่อไปได้

ในขณะที่ผู้ไม่เปลี่ยนพฤติกรรมจะถูกขับไล่ และมีโอกาสที่่จะเสียชีวิตในที่สุด

นั่นเป็นสาเหตุที่ว่าการถูกปฏิเสธนั้นเจ็บปวด

และที่มากไปกว่านั้นคือ เป็นสาเหตุที่ว่าทำไม ความเหงา ถึงเจ็บปวดมาก

กลไกที่ทำให้เรารักษาความสัมพันธ์เหล่านี้ทำงานได้อย่างดีในประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา

จนกระทั่งมนุษย์ได้สร้างโลกใหม่ของตัวเองขึ้นมา

  1. ข้อเสียของโลกสมัยใหม่

ความเหงาที่ระบาดอยู่ในปัจจุบันนี้จริงๆ แล้วเริ่มขึ้นในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาการตอนปลาย

วัฒนธรรมตะวันตกเริ่มที่จะให้ความสำคัญกับตัวบุคคล

ปัญญาชนทั้งหลายเริ่มออกจากระบบชุมชนนิยมของยุคกลาง

ในขณะที่เทววิทยา (ศึกษาเกี่ยวกับพระเจ้า) โปรเตสแตนต์สมัยใหม่เน้นไปที่ความรับผิดชอบส่วนบุคคล

แนวความคิดนี้ขยายตัวในช่วงการปฏิวัติอุตสาหกรรม

ผู้คนมากมายออกจากหมู่บ้านและเข้ามาทำงานในโรงงาน

ชุมชนมากมายที่มีอยู่มาเป็นร้อย ๆ ปี

ค่อย ๆ สูญหายไป ในขณะที่เมืองเติบโตมากขึ้น

ในขณะที่โลกเริ่มทันสมัยมากขึ้นอย่างรวดเร็ว แนวความคิดนี้จึงแผ่ขยายออกไปมากขึ้น

ทุกวันนี้พวกเราต้องเดินทางไกลเพื่องานใหม่ ความรักและการศึกษา

และละทิ้งเครือข่ายทางสังคมของตัวเองไป

เราพบปะผู้คนด้วยตัวเองจำนวนน้อยลง และเจอพวกเขาน้อยกว่าในอดีต

ในสหรัฐ จำนวนเฉลี่ยของเพื่อนสนิทลงลดจาก 3 คนในปี 1985 เป็น 2 คนในปี 2011

ผู้คนมากมายเผชิญหน้ากับความเหงาเรื้อรังโดยไม่ได้ตั้งใจ

นั่นคือการที่คุณอายุถึงวัยผู้ใหญ่ และยุ่งเกี่ยวกับงาน มหาวิทยาลัย ความรัก ลูก และเน็ตฟลิกซ์

ไม่มีเวลาพอสำหรับการทำทุกสิ่ง

สิ่งที่ง่ายที่สุดที่คุณจะเสียสละได้ คือ การใช้เวลากับเพื่อน ๆ

จนกระทั่งวันหนึ่งที่ตื่นขึ้นมาแล้วเพิ่งตระหนักได้ว่าคุณกำลังรู้สึกโดดเดี่ยว..

และโหยหาในความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิด

แต่มันเป็นเรื่องยากที่จะหาความสัมพันธ์เช่นนั้นในผู้ใหญ่..

ความเหงาจึงกลายเป็นความเหงาเรื้อรัง

ในขณะที่มนุษย์รู้สึกดีกับสิ่งต่าง ๆ เช่น ไอโฟน และยานอวกาศ..

ร่างกายและจิตใจของเราโดยพื้นฐานแล้วยังไม่ต่างไปจากเมื่อ 50,000 ปีก่อน

พวกเรายังมีการปรับปรุงทางชีวภาพเพื่อการอยู่ร่วมกัน

  1. ความเหงาฆ่าเราได้อย่างไร?

การศึกษาขนาดใหญ่แสดงให้เห็นว่า

ความเครียดที่เกิดจากความเหงาเรื้อรัง

เป็นหนึ่งในสิ่งที่ไม่ดีต่อสุขภาพที่สุด ในฐานะมนุษย์

มันทำให้เราแก่เร็วขึ้น..

เป็นมะเร็งร้ายแรง..

สมองเสื่อมเร็วขึ้น..

ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอลง

ความเหงาอันตรายมากกว่าโรคอ้วนถึง 2 เท่า

และอันตรายเท่ากับการสูบบุหรี่ทั้งซองในหนึ่งวัน

สิ่งที่อันตรายที่สุดเมื่อมันกลายเป็นความเหงาเรื้อรัง

มันจะกลายเป็นโรคที่ยั่งยืน

ความเจ็บปวดทางกายและทางสังคมใช้กลไกพื้นฐานในสมอง คือการรู้สึกว่ามันเป็นภัยคุกคาม

ฉะนั้นความเจ็บปวดทางสังคมจะนำไปสู่พฤติกรรมป้องกันตัวแบบทันทีทันใด

เมื่อมันทำให้คุณเจ็บปวด

เมื่อความเหงากลายเป็นปัญหาเรื้อรัง สมองจะสั่งให้ร่างกายอยู่ในโหมดป้องกันตัวเอง

มันจะเริ่มทำให้คุณเห็นทุกอย่างอันตรายและไม่เป็นมิตร

แต่นั่นไม่ใช่ทั้งหมด

ผลการศึกษาบางตัวพบว่า เมื่อคุณเหงา สมองจะเปิดรับและตื่นตัวกับสัญญาณทางสังคม

ในขณะเดียวกัน มันจะสูญเสียความสามารถในการตีความสัญญาณนั้น ๆ อย่างถูกต้อง

คุณให้ความสนใจผู้อื่นมากขึ้น

แต่คุณเข้าใจพวกเขาได้น้อยลง

สมองส่วนที่ใช้รับรู้ความรู้สึกของใบหน้าจะผิดเพี้ยนไป..

และมีแนวโน้มที่จะจัดให้ใบหน้าที่เป็นกลาง กลายเป็นไม่เป็นมิตร ซึ่งจะทำให้คุณไม่ไว้วางใจผู้อื่น

ความเหงาทำให้คุณคิดไปเองว่าคนอื่นประสงค์ร้ายต่อคุณ

และเนื่องจากคุณรู้สึกว่าโลกนี้ช่างโหดร้าย คุณก็เลยกลายเป็นคนที่เอาตัวเองเป็นศูนย์กลางมากขึ้นเพื่อป้องกันตัว

ซึ่งนั่นจะทำให้คุณดูเป็นคนเย็นชา ไม่เป็นมิตร และอึดอัดกับการเข้าสังคมเกินกว่าความเป็นจริง

  1. แล้วเราจะทำอย่างไรได้บ้าง?

ถ้าหากความเหงาทำให้การดำเนินชีวิตเป็นเรื่องยาก..

สิ่งแรกที่เราทำได้คือ การรับรู้ถึงวงจรอุบาทว์ที่คุณอาจติดอยู่ในนั้น

โดยส่วนใหญ่แล้วมันมักจะเป็นแบบนี้..

เริ่มแรก ความรู้สึกโดดเดี่ยวจะนำพาไปสู่ความรู้สึกตึงเครียดและความเศร้า

ซึ่งทำให้คุณเลือกสนใจเฉพาะปฏิสัมพันธ์ด้านลบกับผู้อื่น

นี่ทำให้ความคิดเกี่ยวกับตัวเองและผู้อื่นเป็นไปในด้านลบ

ซึ่งจะนำไปสู่การเปลี่ยนพฤติกรรม

คุณเริ่มหลีกเลี่ยงการมีปฏิสัมพันธ์กับสังคม ซึ่งจะทำให้คุณยิ่งรู้สึกโดดเดี่ยว

วงจรนี้รุนแรงขึ้นและยากขึ้นที่จะหลุดพ้นในแต่ละครั้ง

ความเหงาทำให้คุณนั่งห่างจากคนอื่นในชั้นเรียน..

ไม่รับโทรศัพท์เมื่อเพื่อนโทรมา..

ปฏิเสธคำเชิญจนกกระทั่งคำเชิญหยุดไป

คนแต่ละคนมีเรื่องราวของตัวเอง

และถ้าหากคุณเลือกที่จะเชื่อว่าคนอื่นทอดทิ้งคุณ

คนอื่น ๆ ก็จะรู้สึกแบบนั้นด้วย

และในที่สุด โลกภายนอกก็จะกลายเป็นแบบที่คุณรู้สึก

กระบวนการนี้มักคืบคลานอย่างช้า ๆ เป็นปี ๆ

และจบลงที่ความเครียดและสภาพจิตใจที่ไม่ต้อนรับความสัมพันธ์ใด ๆ..

ถึงแม้คุณจะโหยหามันก็ตาม

สิ่งแรกที่คุณสามารถทำได้เพื่อหลุดพ้น..

คือการยอมรับว่าความเหงาเป็นความรู้สึกปกติ และไม่มีอะไรน่าอาย

แท้จริงแล้วทุกคนรู้สึกเหงา ณ ช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งของชีวิต

มันเป็นประสบการณ์ทั่วไปของมนุษย์

คุณไม่สามารถกำจัดหรือเมินความรู้สึกนี้ได้ จนกว่ามันจะหายไปเองอย่างน่าอัศจรรย์

แต่คุณสามารถยอมรับได้ว่า คุณรู้สึกถึงมันและกำจัดสิ่งที่ทำให้มันเกิดได้

คุณสามารถตรวจสอบตัวเองได้ว่าคุณกำลังสนใจสิ่งใด

และตรวจสอบว่าคุณกำลังเลือกสนใจเฉพาะด้านลบหรือไม่

ปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงานเป็นด้านลบไหม?

หรือจริง ๆ แล้วเป็นกลางหรือเป็นบวก?

เนื้อหาจริง ๆ ของบทสนทนาคืออะไร?

คนอื่น ๆ พูดว่าอะไร?

และพวกเขาพูดอะไรแย่ ๆ ไหม?

หรือคุณใส่สีตีไข่คำของพวกเขา?

บางทีคนอื่นก็ไม่ได้มีปฏิสัมพันธ์ลบกับคุณจริงๆ เขาอาจจะแค่ไม่มีเวลา

ต่อมาเป็นความคิดของคุณเกี่ยวกับโลก

คุณกำลังคิดว่าคนอื่นคิดร้ายกับคุณหรือไม่?

คุณเข้าร่วมสถานการณ์ทางสังคม และตัดสินผลลัพธ์ไว้ก่อนรึเปล่า?

คุณคิดเอาเองว่าคนอื่นไม่อยากอยู่กับคุณหรือไม่?

คุณกำลังพยายามหลีกเลี่ยงความเจ็บปวด และความเสี่ยงในการเปิดใจไหม?

และถ้าเป็นเช่นนั้น

คุณสามารถลองทำใจเชื่อคนอื่นก่อนได้ไหม?

คุณลองคิดดูก่อนไหมว่าพวกเขาไม่ได้ต่อต้านคุณ?

คุณลองที่จะเปิดใจและยอมเสี่ยงอีกครั้งได้ไหม?

และในท้ายสุด

พฤติกรรมของคุณ

คุณกำลังหลีกเลี่ยงโอกาสที่จะไปกับคนอื่นไหม?

คุณกำลังหาข้อแก้ตัวสำหรับการปฏิเสธคำเชิญหรือไม่?

หรือคุณกำลังผลักคนอื่นออกไปเพื่อป้องกันตัวคุณ?

คุณกำลังแสดงออกมาเหมือนกับว่าคุณกำลังถูกโจมตีหรือไม่?

คุณกำลังมองหาความสัมพันธ์ใหม่ๆ หรือพอใจกับสิ่งที่คุณเป็นอยู่แล้ว?

แน่นอน สถานการณ์ของแต่ละคนย่อมมี เอกลักษณ์และความแตกต่างของมันเอง

และการคิดทบทวนเพียงลำพังอาจไม่เพียงพอ

ถ้าหากคุณรู้สึกว่าไม่สามารถแก้ไขสถานการณ์ได้ด้วยตัวเอง..

โปรดติดต่อหาผู้เชี่ยวชาญเพื่อขอความช่วยเหลือ

มันไม่ใช่สัญลักษณ์ของความอ่อนแอ แต่มันคือความกล้า

อย่างไรก็ตาม เมื่อเรามองไปที่ความเหงา

ในฐานะปัญหาบุคคลของที่ต้องการการแก้ไข เพื่อให้เกิดความสุข

หรือมองในฐานะวิกฤตสาธารณสุข

มันเป็นสิ่งที่สมควรได้รับความสนใจมากกว่านี้

มนุษย์ได้สร้างโลกที่เต็มไปด้วยความน่าอัศจรรย์

แต่ไม่มีความอัศจรรย์ใดที่สามารถทำให้เราพอใจ หรือทดแทนความต้องการพื้นฐานทางชีววิทยาในการสร้างสัมพันธ์ได้

สัตว์ส่วนใหญ่ได้รับสิ่งที่พวกมันต้องการ จากสภาพแวดล้อมทางกายภาพ

พวกเราได้รับสิ่งที่เราต้องการจากกันและกัน

และพวกเราจำต้องสร้างโลกที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้นโดยอิงตามหลักการนั้น

มาลองอะไรบางอย่างกันเถอะ

ลองติดต่อหาใครสักคนวันนี้

โดยไม่คำนึกถึงว่าคุณจะรู้สึกเหงานิดหน่อย

หรือเพียงแค่อยากทำให้เขามีความสุขขึ้น

อาจเป็นการเขียนข้อความหาเพื่อนที่ไม่เจอกันนาน

โทรหาคนในครอบครัวที่รู้สึกห่างเหิน

เชิญเพื่อนร่วมงานไปดื่มกาแฟ

หรือไปที่ที่คุณเคยกลัวหรือขี้เกียจที่จะไป

อย่างเช่น กิจกรรมใน D&D หรือสปอร์ตคลับ

ทุกคนแตกต่าง ดังนั้นคุณย่อมรู้ว่าสิ่งไหนดีต่อคุณ

บางทีคุณอาจได้ไม่อะไรจากมันเลย

แต่ไม่เป็นไร เพียงแค่อย่าตั้งความคาดหวัง

เป้าหมายคือการเปิดใจนิดหน่อยก็ยังดี

ฝึกฝนการสร้างความสัมพันธ์

เพื่อทำให้พวกเราแข็งแกร่งขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป

หรือช่วยคนอื่นฝึกฝนมัน

พวกเราอยากแนะนำหนังสือ 2 เล่มนี้ ที่เราใช้เป็นข้อมูลสำหรับวิดีโอนี้

“Emotional First Aid” (การปฐมพยาบาลทางอารมณ์) โดย Guy Winch

หนังสือที่เล่า

การรับมือความเหงาที่เป็นประโยชน์และใช้งานได้จริง

และ “Loneliness: Human Nature and the Need for Social Connection” (ความเหงา: ธรรมชาติของมนุษย์และความต้องการความสัมพันธ์ทางสังคม)

โดย John Cacioppo และ William Patrick

มันเป็นการสำรวจเพื่อความบันเทิงและวิทยาศาสตร์ว่าทำไมเราถึงรู้สึกเหงาในระดับชีวภาพ

มันแพร่กระจายในสังคมได้อย่างไร

และวิทยาศาสตร์บอกไว้ว่าจะทำอย่างไรจึงจะหลุดพ้น

ลิงก์สำหรับหนังสือสองเล่มนี้อยู่ในคำอธิบายใต้วิดีโอ

ขอบคุณสำหรับการรับชม อย่าลืมที่จะกดติดตามด้วยนะ!